*เว็บไซต์กำลังปรับปรุง*

คำนิยมจากหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

คำนิยมจากหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด
4P1A0873 (Web H)

จากใจผู้เรียบเรียงในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

หลายปีที่รอให้มีหนังสือประวัติตัวเอง ทำไมนะเหรอ?

  1. เพราะเวลาเล่าประวัติตัวเองให้ลูกศิษย์ฟังหรือเพื่อนที่สนใจฟัง ทุกคนจะงงๆ เรื่องห้วงเวลา ในการฝึกมวยและชื่อครูบาอาจารย์ที่ผมกล่าวถึง ซึ่งเป็นการยากที่จะเข้าใจ
  2. ผู้ที่ฝึกฝนกับผมหรือผู้สนใจ จะได้รู้ว่าผมเรียนมวยมาจากที่ใด กับครูบาอาจารย์ท่านใด เมื่อพวกเขารู้จะได้ทราบต้นสายมวยของผมและหากมีโอกาสที่พวกเขาได้พบต้นสายมวย จะได้ไม่ไปอวดดีกับต้นสายมวยหรืออยากจะต่อวิชาให้กลับไปต่อจากสายมวยที่ผมได้กล่าวไว้
  3. ได้เป็นแนวทางให้ผู้สนใจที่ได้อ่าน สามารถนำไปเป็นข้อคิดและแนวทางเลือกว่าตนเองน่าจะเหมาะกับมวยอะไร จะได้เลือกเรียนให้ตรงแนวทางที่ตนชอบ ไม่ต้องไปเสียเวลาแบบผม
จากใจผู้เรียบเรียงในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด
จากใจผู้เรียบเรียงในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

ผมต้องใช้เวลาหลายปี เอาตัวเองเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต ฝึกฝนมวยในหลายแขนงวิชา สิ่งที่น่าเสียดายคือภูมิปัญญาของครูอาวุโส ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตสั่งสมประสบการณ์ กลั่นกรองจนตกผลึก ผมจึงใช้เวลาที่หาโอกาสได้ เอาตัวเองไปรับภูมิปัญญาจากครูอาวุโสหลายๆ ท่าน แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของ “การมีบุญ วาสนาต่อกัน” ด้วย เมื่อมีโอกาสพบเจอจะรีบไขว่คว้าโอกาสนั้น “ผมจึงใช้ตัวเองเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต”

  • ขอบคุณโอกาส ดีดี
  • ขอบคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้
  • ขอบคุณ คุณแม่รัศมี อัจฉริยะฉาย ที่ให้บ้านมาทำโรงยิม เพื่อให้ลูกชาย ได้ประกอบสัมมาอาชีพ ที่ตนรัก
  • ขอบคุณพี่โจแรงเยอร์นำพาให้ผมได้รู้จักกับพี่สมิธ บก.หนังสือ GB
  • ขอบคุณพี่สมิธ ที่ให้โอกาสผมได้เขียนบทความลงคอลัมน์ในหนังสือ GB และชี้แนะแนวทางในการรวมเล่มหนังสือ “ศาสตร์ไทฟูโด”
  • ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการวิทยายุทธไทย ที่ให้กำลังใจและสนับสนุนให้เขียนบทความจนมีหนังสือเล่มนี้
  • ขอบคุณทีมงานดีดี ของหนังสือ GB ทุกท่านที่ทำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้น
  • ขอบคุณแค็ทรีญา อัจฉริยะฉาย ภรรยาที่อดทนและคอยอยู่เคียงข้าง ทำให้มีบทความและหนังสือขึ้นมาได้
  • ขอบใจลูกศิษย์ของผมทุกคนที่ร่วมใจกัน สนับสนุนให้หนังสือเล่มนี้คลอดออกมา
  • ขอบคุณวันดีดี ที่ทุกคนให้กำลังใจและช่วยเหลือ ขอบคุณครับ

ด้วยรักจากใจ
ชีวิน อัจฉริยะฉาย
24/01/256

คำนิยมจากชาครีย์ เชาวนสมิทธ์ ในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

หนังสือรายเดือน GB : Guns & Blades ที่ผมทำมาเกือบสิบปีนั้น ตั้งปณิธานชัดเจนเป็นธงนำไว้คือ ส่งเสริมและยกย่องผู้มีความสามารถเรื่องราวของ ปืน นั้นคือสิ่งที่มนุษย์ผู้มีความสามารถสร้างขึ้นเป็นงานโลหะอันทรงเสน่ห์ เช่นเดียวกับ มีด ทั้งจากต่างประเทศและผลงานของช่างมีดไทย ที่ถ่ายทอดแนวคิดสรรค์สร้างผลงานนำเสนอ

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย เป็นผู้มีความสามารถอีกท่านหนึ่งที่ผมให้การยกย่องเสมอมา ผมรู้จักและสัมผัสผลงานท่านมาในห้วงเวลาเกือบทศวรรษ พบกันถึงตัวตน และผ่านงานเขียนที่ท่านนำเสนอผ่านหน้าหนังสือ GB ต่อเนื่องมายาวนานหลายปีซึ่งเป็นการรวบรวมบทบันทึกที่มีคุณค่า และมีจำนวนเรื่องราวที่มากพอสำหรับการนำมารวมเล่ม เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและอ้างอิงค้นคว้าสืบไปสำหรับผู้สนใจ หนังสือฉบับพิเศษที่รวบรวมผลงานของ อ.ชีวิน เป็นความภาคภูมิใจของตัวท่านเองซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง และผมผู้สนับสนุนให้ท่านทำการรวมเล่ม ด้วยความเชื่อมั่นว่านี่คือ หนังสือฯ ที่ทรงคุณค่าของวงการศึกษาสายมวยจีน ซึ่งถึงวันนี้ยากนักที่จะหาผู้ใดหาญกล้าจัดทำขึ้นมาขอแสดงความยินดี ที่ท่านอ่านมาจนถึงท้ายเล่มนี้ จะมากน้อย

นี่คือการอ่านหนังสือ อันจะนำคุณประโยชน์มาสู่ตัวท่านเอง หากนำไปฝึกฝนปฏิบัติตามยิ่งเพิ่มพูนคุณค่า และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันให้หนังสือฯ เล่มพิเศษนี้ มีที่หยัดยืนในเส้นทาง

ชาครีย์ เชาวนสมิทธ์
Mr.Smith : GB EDITOR
13 เมษายน พ.ศ.2563

คำนิยมจากวาทิต ชาติกุล ในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

ผมได้ยินชื่อ อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย มานานแล้วเมื่อครั้งสมัยที่ตนเองไปฝึกมวยที่เยาวราชโดยได้ยินจากอาจารย์และรุ่นน้องอาจารย์ชีวิน พี่ๆ ที่ช่วยฝึกสอน ทุกคนเล่าถึงฝีไม้ลายมือที่ยอดเยี่ยมของอาจารย์ชีวินให้ฟังในตอนนั้นผมอดที่จะทึ่งไม่ได้เพราะขนาดรุ่นน้องอาจารย์ชีวินพี่ๆ ร่วมสำนักก็ฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดาทุกคน

สมัยนั้นพวกเราฝึกกันหนักหน่วงมากๆ เพราะทุกศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เรานัดฝึกกันตั้งแต่หกโมงเย็น ฝึกไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก บางทีไปเลิกเอา ตี 4 ตี 5 แล้วยังนัดฝึกแยกตามบ้านพี่ๆ น้องๆ ตามความสะดวก ตอนนั้นผมเองก็ชื่นชอบกับวิถีแห่งดาบญี่ปุ่น เลยไปฝึกเคนโดที่โรงยิมเก่าของคณะครุศาสตร์ เอกพละศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียกได้ว่าฝึกทั้งหมัดมวย ฝึกทั้งอาวุธในรูปแบบกีฬา นับได้ว่าช่วงนั้นจากฝีมือที่เป็นศูนย์ของผม พัฒนาไปไกลมากเพราะมีคนขอผลักมือด้วยที่สวนลุมพินี

ผมได้พบกับอาจารย์ชีวินครั้งแรกในปี พ.ศ.2546 หลังจากที่ผมตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านที่นครศรีธรรมราชได้ประมาณ 6 เดือน ผมจำได้ว่าเมื่อเจอครั้งแรก มีความประทับใจในตัวอาจารย์ชีวินอย่างมากชายร่างสูงโปร่งรูปร่างสันทัดกล้ามเนื้อแน่น พาผมไปทานบะหมี่ชื่อดัง แล้วซักถามเรื่องมวยตามธรรมเนียมของคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน อาจารย์ชีวินได้โทรไปหาอาจารย์ของผม (อาจารย์พูน) แล้วบอกว่าผมมาขอต่อมวย แล้วพาผมไปยังโรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัวแห่งหนึ่ง แล้วสั่งให้ลูกศิษย์สอนแทน ส่วนตัวอาจารย์ชีวินมาผลักมือกับผมเพื่อทดสอบทักษะ

และในวันนั้นเองที่ผมพบว่า การฟังแรงอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ผมพยายามส่งแรงและออกอาวุธในรูปแบบต่างๆ แต่ผมกลับยืนนิ่งไม่สามารถออกอาวุธได้เพราะอาจารย์ชีวินดักทางไว้ทั้งมือและเท้า เหมือนรู้ล่วงหน้าว่าผมจะออกอาวุธแบบไหน และที่สำคัญกว่านั้นคือการยืมแรงขาของผมมาพลิกตัวเตะเข้ายอดอกจนผมกระเด็นไปติดข้างฝา บอกตรงๆ ว่าตอนนั้นผมแทบจะลุกไม่ไหว แต่ด้วยความอายลูกศิษย์ของอาจารย์ชีวิน เลยกัดฟันยืนขึ้นเพื่อฝึกต่อ อาจารย์ชีวินถามว่า “เจ็บมั้ย” ผมพยักหน้าแล้วอาจารย์ชีวินยื่นมือมาในลักษณะเตรียมพร้อม ผมยกมือขึ้นแตะและเตรียมใจรับความเจ็บมากกว่านี้

แต่ครั้งนี้ผิดคาด ตรงที่อาจารย์ชีวินสาธิตการฟังแรง การรับแรง การยืมแรงในรูปแบบต่างๆ ที่ผมเคยเห็นแต่ในหนังสือและในหนัง ไม่ว่าจะเป็นการสะบัดตัวสลายแรงแล้วโจมตีกลับ (ฉันซื่อจิ่ง) การหยุ่นตัวแล้วส่งแรงกลับ (หมี่กง) การออกหมัดออกอาวุธแบบมวยหย่งชุน มวยตั๊กแตน มวยสกุลหง มวยไทจี่สายอื่นๆ นับได้ว่าเป็นความประทับใจแรกที่ผมมีต่ออาจารย์ชีวินเป็นอย่างมากสิ่งหนึ่งที่ผมได้พบในตัวอาจารย์ชีวินนอกเหนือจากความเก่งมวยเก่งอาวุธแล้ว คือความมีน้ำใจ ความเปิดกว้างให้ทุกคนที่สนใจมวยและศิลปะป้องกันตัว การแสวงหาความเป็นมิตรกับผู้คนที่รายรอบเข้ามาหา เมื่อครั้นสนิทกันมากเข้าก็พบว่าภูมิหลังของผมกับอาจารย์ชีวินแทบไม่ต่างกันเลย คือเป็นเด็กอ่อนแอที่ถูกรังแก เพียงแต่ผมเลือกที่จะหลีกหนีเข้าห้องสมุดคนเดียวไม่ยุ่งกับใครนอกจากหนังสือ

ในขณะอาจารย์ชีวินเลือกที่จะสู้กับการถูกรังแก เลือกที่จะเจ็บเพื่อที่แข็งแรงกว่าศัตรูและแน่นอนว่าทัศนคติของครูและผู้ใหญ่ในเวลานั้น ย่อมมองเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กมีปัญหาและโดยมากแล้วมักจะเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง หัวดื้อ ถนัดแต่กิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน เช่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ แต่ผู้ใหญ่กลับไม่ได้มองไปถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงว่าปัญหาเกิดจากอะไร และลืมไปว่าเด็กแต่ละคนย่อมมีดีของตนเอง มีทิศทางที่จะส่งเสริมไปในที่ถูกต้องโดยทัศนคติที่ถูก
เรื่องบางเรื่องก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ ณ วันนี้ ในประเทศไทยอาจารย์ชีวินได้พิสูจน์แล้วว่า เด็กชอบเล่นกีฬาคนหนึ่ง ชอบศิลปะป้องกันตัว ชอบดาบ ชอบมวยและศาสตร์สงครามแต่โบราณของสยาม ได้สถาปนามวย “ไทฟูโด” ขึ้นมาโดยวางแนวทางการฝึกฝนศิลปะป้องกันตัวได้อย่างมีระบบ ระเบียบมากที่สุด ใช้เลี้ยงชีพเลี้ยงตัวเลี้ยงตนโดยไม่จำเป็นต้องทำอย่างอื่น มีลูกศิษย์อีกนับพันนับหมื่น ไทฟูโดคือศาสตร์ป้องกันตัวแบบใหม่ที่อาจารย์ชีวินคิดขึ้นมา และมีวิถีอนุรักษ์นิยมผสมการปรับใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมใช้ระบบการเลื่อนขั้นด้วยสายคาดเอวจากญี่ปุ่นแต่ยึดถือธรรมเนียมการยกน้ำชารับศิษย์แบบจีนในขณะเดียวกันยึดมั่นในมารยาทแบบสังคมไทยมุ่งเน้นความกตัญญู

ผมเฝ้ามองอาจารย์ชีวินอยู่ห่างๆ ซึ่งขณะนั้นอาจารย์ชีวินกำลังโลดแล่นในวงการบันเทิงโดยเป็นครูผู้ฝึกสอน โทนี่ จา ที่โด่งดังจากภาพยนตร์หลายเรื่องและคงโลดแล่นในภาพยนตร์หลายเรื่อง ละครซีรีย์ชื่อดังที่เข้าถึงสังคมวัยรุ่นยุคนี้มากเป็นประวัติการณ์

ผมเองแม้จะเก่งอย่างอาจารย์ชีวินไม่ได้ แต่มาพิจารณาตนเอง ผมสามารถที่จะรองรับและสนับสนุนอาจารย์ชีวินฯได้ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างเต็มความสามารถ จนวันหนึ่งอาจารย์ชีวินโทร.หาผมหลังจากเสร็จงานอารักขาบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง บอกความประสงค์ว่า “จะทำซีรีย์หนังแอคชั่น” ให้ออกมาเจอที่โรงแรมที่อาจารย์ชีวินพักอยู่

อาจารย์ชีวินถามว่าผมมีแนวคิดอย่างไรบ้าง สิ่งที่ผมตอบไปได้ขณะนั้น คือในเมื่อสิ่งที่อาจารย์ชีวินชำนาญที่สุดคือศิลปะป้องกันตัว ทำไมไม่เอาคนเป็นมวย เป็นศิลปะป้องกันตัวจริงๆ มาเล่นเลย เพราะอาจารย์ชีวินปั้นคนอื่นเป็นดาวเด่นมากมาย ซึ่งอาจารย์ชีวินฯ เห็นด้วย ประเด็นถัดมาคือจะเอาเรื่องอะไรมาทำ ผมเสนอไปว่าเรื่องที่อาจารย์ชีวินรู้ดีที่สุดกับเรื่องที่ต้องคิดขึ้นมาใหม่ หากันใหม่ อะไรง่ายกว่ายากกว่า

ใช่ครับ ผมเสนอเรื่องของ ไทฟูโด สถาบันศิลปะป้องกันตัวแห่งเดียวในประเทศที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการและมีชื่อเสียงไปถึงมาเลเซีย สิงค์โปร์และเรื่องราวของอาจารย์ชีวินเด็กถูกรังแกคนหนึ่งที่ประสบพบเจอมาตั้งแต่เด็กจนมาได้แชมป์คาราเต้ ไทยแลนด์ โอเพนต์ ครั้งแรก จนกลายมาเป็นผู้สถาปนาวิชา ไทฟูโด ขึ้นมา มีทิ้งท้ายของแต่ละตอนด้วยบุคคลจริงที่อ้างถึง ไปจนถึงสารคดีศิลปะป้องกันตัวแต่ละอย่าง ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศไทยได้อย่างไร

ในครั้งนั้น แม้หลักคิดของเรา เรื่องเอาคนมีวิชามาเล่นจริง และเรื่องราว “ไทฟูโด” จะประทับใจทุกฝ่าย แต่อาจจะเป็นเพราะเราเร่งรีบไป บทเลยไม่ผ่าน แต่หากมองในแง่มุมที่ดี นั่นคือการได้กลับมาเริ่มต้นใหม่ ซึ่งผลของการเริ่มใหม่ก็คือหนังสือที่อยู่ในมือท่านขณะนี้ ที่มีเรื่องราวของอาจารย์ชีวิน หลักปรัชญาไทฟูโด และศาสตร์โบราณอย่างอักขระเลขยันต์ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องราวเหล่านี้จะถูกพัฒนาเป็นบทละครซีรีย์ เผยแพร่สู่สายตาทุกท่านอีกครั้งหนึ่งและเมื่อถึงวันนั้น อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย (พยัคฆ์ขาวแดนใต้) เด็กที่ถูกรังแกชอบเล่นกีฬา อาจจะผงาดศักดิ์ศรีได้อย่างไม่แพ้ใคร

วาทิต ชาติกุล
นักเขียนบทภาพยนตร์รางวัลดีเด่น
กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.2562

คำนิยมจากนายแพทย์บัญชา แดงเนียม ในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด

ข้าพเจ้ามีความสนใจในวิชาศิลปศาสตร์การป้องกันตัวมาตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่น และมีโอกาสได้เรียน “ไอคิโด” อยู่ช่วงหนึ่งจนกระทั่งเข้ามาเป็นนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่หาดใหญ่ แน่นอนว่าชมรมที่ข้าพเจ้าเลือกเข้าร่วมคือ ชมรมป้องกันตัวซึ่งในขณะนั้นเล่นแต่ “ไอคิโด” เพียงอย่างเดียว พอขึ้นชั้นปีที่ 3 ในปี พ.ศ.2539 ก็ได้พบกับท่านอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าศิลปะการป้องกันตัวแบบผสมผสานนั้นเป็นอย่างไร ที่มากไปกว่านั้นคืออาจารย์บอกว่าทุกท่วงท่ามี “ไท่เก๊ก” อยู่ในนั้น แน่นอนว่าเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า แต่ต้องทิ้งมวยที่เรียนมาทั้งหมดแล้วเริ่มใหม่แบบเด็กน้อย

ข้าพเจ้าใคร่ครวญอยู่พักใหญ่จึงได้ตัดสินใจขอมอบตัวเป็นศิษย์ในศาสตร์การป้องกันตัวแบบผสมผสานที่ท่านอาจารย์ชีวิน ได้ทุ่มเททั้งชีวิตคิดค้นออกแบบจนตกผลึกมาเป็น “ศิลปศาสตร์การป้องกันตัว ไทยหัตถยุทธไทฟูโด ไท่เก๊ก” หลายปีที่ฝึกฝนจนถึงขั้น “สายดำดั้งสาม” สิ่งหนึ่งที่ค้นพบด้วยตนเองคือสรรพวิชาที่ ท่านอาจารย์ชีวิน ได้ตกผลึกมาถ่ายทอดให้ศิษย์นั้น มิใช่ ศิลปะการป้องกันตัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็น “ศิลปะการป้องกันใจ” ให้รู้จักอดทน อดกลั้น อ่อนน้อม ถ่อมตน ครองสติมั่นในทุกๆ สถานการณ์

เมื่อท่านอาจารย์ มีดำริที่จะเขียนหนังสือ เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่อาจารย์คิดค้นขึ้น ให้เป็นที่แพร่หลาย ข้าพเจ้าจึงไม่รีรอที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนงานของอาจารย์ชิ้นนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายนำไปอ้างอิงและทบทวนฝึกฝน ให้มีความชำนาญสืบไป

ด้วยความนับถือยิ่ง
นายแพทย์บัญชา แดงเนียม
เลขาธิการสมาคมเซลล์บำบัดไทย

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

4P1A0873 (Web H)
ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการต่อสู้และกีฬาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น มีความหมายว่า “ทางแห่งความ...
4P1A0873 (Web H)
หาดใหญ่ เมืองใหญ่ในภาคใต้ของประเทศไทย ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายและอาห...
4P1A0873 (Web H)
ยิวยิตสู หรือในภาษาญี่ปุ่นว่า จูจุสึ (ญี่ปุ่น: 柔術; โรมาจิ: jūjutsu) เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีรากฐานลึก...
4P1A0873 (Web H)
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
4P1A0873 (Web H)
จากใจผู้เรียบเรียงในหนังสือศาสตร์แห่งไทฟูโด หลายปีที่รอให้มีหนังสือประวัติตัวเอง ทำไมนะเหรอ? ผมต้องใ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.