หลักการป้องกันตัวเป็นกลไกหรือวิธีการที่ใช้เพื่อป้องกันตนเองจากความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการ เช่น การระวังตัว การระมัดระวังสิ่งแวดล้อม การรู้จักคำนึงถึงความเสี่ยง การสร้างความตั้งใจและความมั่นคงในตนเอง การฝึกฝนทักษะทางร่างกายและจิตใจ และการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุดในสถานการณ์ที่ต่างๆ
หัวข้อ
หลักการป้องกันตัวไทฟูโด
การป้องกันตัว
การป้องกันตัว คือ ยังไม่เกิดเหตุ
ไม่เท่ากับ
การต่อสู้
การต่อสู้ คือ เกิดเหตุแล้ว
ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้ทฤษฎีความเสี่ยง
เหตุการณ์จะเกิดขึ้น
1. เหยื่อ
2. คนร้าย
3. โอกาส
ทฤษฎีความเสี่ยง (ภัยที่เกิดจาก)
- ธรรมชาติ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติ”
- น้ำมือมนุษย์ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์”
ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์
- เอาไม่ถึงชีวิต : หลักการ คือ สิ่งใดที่สละได้ สละ!
- เอาถึงชีวิต : หลักการ คือ สู้ให้ถึงที่สุด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายและให้รู้ว่าจะสู้อย่างไร (ต้องสู้ รอด?/ไม่รอด?)
ธรรมชาติ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติ”
น้ำมือมนุษย์ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์”
หลักการป้องกันตัว / หลักการใช้การป้องกันตัว
- เขา 1 เรา 1
- เขาถึง เราถึง
- เขาเคลื่อน เราเคลื่อน
- การเดินวน
- หลังชิดฝา (ป้องกันตัวอันตรายจากด้านหลัง)
- เตรียมสิ่งกีดขวาง
- ทำเป้าให้เล็กลง
- เข้าหาฝูงคน (กลุ่มคน)
- เข้าหากล้องวงจรปิด
- การหาอาวุธในตัว
- อาวุธรอบตัว
- นำพาอาวุธ
- หาทางหนีใกล้ตัว
- มุ่งไปยังเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ตา, คอ, อวัยวะ เป็นต้น
- เน้นการเคลื่องตัวเข้าด้านหลัง
การป้องกัน คือการป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายก่อนจะเกิดเหตุ และต้องไม่มีการปะทะ ไม่มีการต่อสู้ใดๆ เลย จึงจะเป็นการป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นวิธีที่ดีที่สุด ฉะนั้นอย่าพาตัวเองไปหาภัยอันตราย ที่เปลี่ยว ที่อโคจร ที่ที่มีภัยคุกคาม และสถานที่ที่กำลังเกิดเหตุร้าย ให้หลีกเลี่ยง เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดกับตัวเราและควรสมมุติบ้างว่าหากเกิดเหตุการณ์อันตรายหรือเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะเตรียมพร้อมหาทางรับมือกับเหตุการณ์ร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง จงอย่าประมาทเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเท่ากับว่าท่านรอ ให้เกิดเหตุโดยที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันตัว ไว้ล่วงหน้า นั่นเอง
หากเราเข้าใจจุดนี้และรู้จักหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ อันไม่สงบทุกกรณีได้ ก็ถือว่าจบหลักสูตรการป้องกันตัวแล้ว แต่หากเลี่ยงเหตุการณ์ไม่ได้และต้องมีการต่อสู้ ก่อนต่อสู้ต้องตั้งสติก่อนนะครับ และต้องรู้จักหลักการแก้ไขสถานการณ์
การประเมินสถานการณ์ ประเมินเหตุการณ์ที่จะเกิดว่าเหตุที่จะเกิดมาจากเหตุใด?
- เกิดจากภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม, พายุ, แผ่นดินไหว ฯลฯ)
- เกิดจากน้ำมือมนุษย์
ทีนี้เรามาดูกรณีเกิดจากน้ำมือมนุษย์ กันนะครับ หากเราประเมินแล้ว ว่าผู้ประสงค์ร้ายต้องการอะไร เช่นกรณี จี้ชิงทรัพย์
- แบบไม่หวังผลถึงชีวิต
- ข้อแนะนำ : ถ้าไม่หวังผลถึงชีวิต สิ่งใดที่สละได้ให้สละ (ขอรอดชีวิตก่อน ทรัพย์สินหาใหม่ได้) หากขัดขืนต่อสู้ อาจพลาดพลั้ง เกิดเสียชีวิตขึ้นมา จะไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกนะครับ
- แบบหวังผลถึงชีวิต
- ข้อแนะนำ : ถ้าหวังถึงชีวิตด้วย เราต้องสู้ทุกทางที่ทำให้ตัวเรารอด (หรืออาจ ไม่รอด)
ตรงจุดนี้แหละจะเป็นคำตอบของใครหลายๆ คนว่า “จะเรียนท่าต่อสู้ป้องกันตัวเพื่ออะไร?” เพื่อให้เราได้รู้ว่า ถ้าจะสู้ จะสู้อย่างไร? เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์คับขันขึ้นกับตนเอง
การประเมิน 4 ข้อ ในการป้องกันตัว เพื่อเอาตัวรอด มีดังนี้
การประเมินพื้นที่ มีภูมิประเทศอย่างไร มีทัศนียภาพของพื้นที่เป็นอย่างไร ผู้คนโดยรอบเป็นอย่างไร มีเส้นทางสัญจรแบบใดบ้าง หากเป็นในอาคารสถานที่ ควรรู้ทางเข้า-ออก ทางออกฉุกเฉิน อยู่ด้านใด การประเมินช่วงเวลา เวลาที่เราจะต้องไปอยู่ในพื้นที่ ดึกมากไป มืด หรือ เปลี่ยว มากหรือเปล่า การประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ ไปเป็นอย่างไร หากเราต้องไป มีความปลอดภัยแค่ไหน จะได้เตรียมตัวไป หรือต้องชวนเพื่อนๆ ไปด้วย
การประเมินการแก้ไข หากต้องเกิดเหตุการณ์เราต้องปฏิบัติอย่างไร?
ลองคิดสมมุติสถานการณ์จำลองไว้ก่อน แล้วลองคิดแก้ไขสถานการณ์ดู แต่อย่าถึงกับเครียดนะครับ เอาแค่ลองคิดเล่นๆ หลายๆ สถานการณ์ ว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร อย่างน้อยหากท่านเข้าใจว่า การป้องกันคือการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ประเมินแล้วว่าเสี่ยง งดเผชิญเหตุ ต้องไม่มีการปะทะ อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย ให้เลี่ยงซะท่านก็ปลอดภัยแล้วแต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรมีความรู้ทักษะการป้องกันตัวหรือการใช้อาวุธซะหน่อย ให้คิดว่าไม่มีที่ไหนปลอดภัยหรอก เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมทางทักษะ ร่างกายและจิตใจ คิดว่าเมื่อเจอเหตุการณ์แล้วจะต้องทำอะไร จะได้เตรียมแก้ไขได้ทันท่วงทีครับ
ผู้ที่เคยฝึกฝนกันมาแล้ว เมื่อได้เจอเหตุร้ายที่นำไปสู่เหตุการณ์อันตรายจนอาจจะถึงแก่ชีวิต ไม่ว่าทักษะการต่อสู้แบบใด ทักษะการใช้อาวุธทั้งหลายหรือการยิงปืนที่พร่ำฝึกซ้อมกันมา หากได้ใช้ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นกับตัวเรา และช่วยให้เรารอดชีวิตแค่ครั้งเดียว ก็ถือได้ว่า สิ่งที่เราลงทุนไปกับการฝึกฝน 1,000 วัน 10,000 วัน คุ้มแล้วครับ
นักป้องกันตัวนั้นอาจจะไม่มีทักษะการต่อสู้ที่ฉกาจฉกรรจ์ แต่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้จักการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงให้ได้ ช่างสังเกต เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และสามารถรู้จักหาวิถีทางที่จะพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ให้ได้อย่างปลอดภัย
นักป้องกันตัวไม่จำเป็นต้องต้องเก่งการต่อสู้ และขอให้เป็นคนช่างสังเกต (สิ่งผิดปรกติ) สีหน้า อาการ บรรยากาศ และการเอาตัวรอด โดยประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงให้ได้และหาวิถีทางพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ให้ได้อย่างปลอดภัย
- ช่างสังเกต หาทางหนีทีไล่ (จงคิดดีๆ)
- การสร้างเครื่องกีดขวาง
- การหาอาวุธที่อยู่รอบตัว (จะใช้มันอย่างไร?)
- การหาที่มั่นในที่ปลอดภัย
- ประเมินสถานการณ์ เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เราควรสังเกตอะไร?
1. บุคคล
นักป้องกันตัวต้องช่างสังเกตบุคคลรอบตัว เพื่อเตรียมแก้สถานการณ์ให้ ปลอดภัยสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกว่ามีคนท่าทางมีพิรุธเดินตามมา ระหว่างการเดินทางตามปกติ บางช่วงของการเดินนั้นอาจเปลี่ยว หรือมีคนบางตา ถ้ารู้สึกผิดสังเกตควรเร่งฝีเท้าให้ผ่านจุดเสี่ยงให้เร็วที่สุด จากนั้นลองหยุดตรงที่มีคนอยู่ ดูแล้วน่าจะปลอดภัย อาจแวะเข้าร้านอาหาร หรือ ร้านขายของชำ ฯลฯ สังเกตว่าผู้ที่เราคิดว่าเดินตามเรามามีท่าทีอย่างไร หากเขาเดินผ่านไปก็สบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ เพราะเขาหยุดเดินและทำท่าทางพิรุธเหมือนรอให้เราออกมาจากร้านที่แวะอยู่ กรณีนี้หากเราจำเป็นต้องเดินทางต่อ รอนานมากไม่ได้ เราควรรอให้มีคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเดินเคียงๆกันไป หากเริ่มแน่ใจว่ามีคนตามเพื่อประสงค์ร้าย อาจต้องเปลี่ยนทิศทางการเดินทางไปยังที่ที่ปลอดภัยกว่า กรณีสามารถหารถรับจ้างเช่นรถ TAXI ควรนั่งรถ TAXI เพื่อไปจากพื้นที่ที่เราโดนติดตามนั้นๆ ก่อนเลย (หวังว่างานนี้คงไม่หนีเสือปะจระเข้นะครับ)
2. วัตถุรอบตัว
นักป้องกันตัว ต้องหัดสังเกตว่าวัตถุรอบตัว อะไรบ้างที่นำมาเป็นอาวุธได้ นักป้องกันตัว ต้องหัดสังเกตวัตถุโดยรอบ เราจะได้รู้ว่ามีอะไรที่พอจะหยิบมาใช้เป็นอาวุธได้บ้าง ในกรณีที่เกิดเหตุร้าย วิชานี้เรียกว่า ถ้วย ถัง กะละมัง หม้อหากมีเหตุโดนทำร้าย เราสามารถคว้าอะไรได้ก็โยนไป ปาเข้าไปวัตถุใดบ้างที่สามารถเอามากั้นทางเพื่อวิ่งหนี หรือหยุดชะลอการโจมตีจากคู่ต่อสู้อย่างน้อยก็อาจช่วยให้ระยะและจังหวะการโจมตีของคู่ต่อสู้เสียไปการทำลายจังหวะด้วยการใช้วัตถุรอบๆ ตัว ยังช่วยเพิ่มเวลาคิดเพื่อตอบโต้หรือเผ่นหนีวัตถุรอบๆ ตัวที่สามารถนำมาสร้างเครื่องกีดขวาง เช่น เก้าอี้โต๊ะอาหาร ฯลฯและวัตถุใดบ้างที่สามารถใช้แทนอาวุธ เช่น ช้อนส้อม ปากกา ร่ม แก้วน้ำขวดแก้ว ฯลฯ ให้หัดสังเกตดูสิ่งรอบตัวบ่อยๆ เวลาอยู่ในสถานที่ต่างๆ ลองมองว่าหากเกิดเหตุร้าย อะไรที่เราจะนำมาเป็นอาวุธได้อีกบ้าง?
สุดท้ายต้องหัดสังเกต รู้จักหาที่มั่น ที่จะทำให้เรารอด นักป้องกันตัวจำต้องประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยงให้ได้และหาวิถีทางพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆให้ได้อย่างปลอดภัย เราจะเป็นนักป้องกันตัวได้นั้นไม่ยากเลย โดยให้เริ่มฝึกการสังเกตและรู้จักการประเมินสถานการณ์คือ เมื่อเกิดเหตุ และประเมินสถานการณ์ว่าผิดปกติ อาจมีเหตุร้ายแล้ว หาบุคคลที่อาจช่วยเราให้ปลอดภัยหรือหยิบจับสิ่งของรอบตัวที่นำมาใช้เป็นอาวุธได้อาจสร้างเครื่องกีดขวางด้วยวัตถุเฉพาะหน้า ที่สามารถชะลอการโจมตีหรืออาจเปิดจังหวะเพื่อหลบหนีและควรรีบไปยังที่มั่นหรือสถานที่ที่มีผู้คน
ทุกวันนี้ภัยสังคมมีมาทุกรูปแบบ อย่ามัวรอพระเอกขี่ม้าขาวฝึกฝนตัวเราเองก่อนขอฝากไว้ครับ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ดีที่สุดครับ
ติดต่อเรา
- สถานที่ : ถนน ปุณณกัณฑ์ ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110
- Facebook : Taifudo Academy – โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
- Instagram : taifudoacademy.official
- Tiktok : Taifudo Academy
- Twitter : Taifudo Academy
- Youtube : @taifudoacademy
- LINE : Taifudo Academy
- เบอร์โทร : 083 923 4204
- เว็บไซต์ : www.taifudo.com
- แผนที่ : Taifudo Academy