Taifudo Academy

บทที่ 9 กังฟู (Kung Fu) มวยจีนท่วงท่าสง่างาม

บทที่ 9 กังฟู (Kung Fu) มวยจีนท่วงท่าสง่างาม
taifudo book9 (Web V)

“ถ้านายอยากเรียนมวยจีน ผมจะสอนให้แต่ถ้านายอยากมีชื่อเสียงบนผืนผ้าใบก็ไม่ต้องมาพูดเรื่องอยากฝึกมวยกับผมอีก ถ้าอยากมาฝึกให้โกนหัวล้านมาเลยนะ” หมอน้อยพูดกับผมตอนพบกันในปี พ.ศ.2531 ที่ผมไปรักษาแบบแผนจีนกับท่าน

ผมกลับมาทบทวนคำพูดเหล่านั้นของหมอน้อย ผมรู้สึกได้ว่าหมอน้อยเหมือนกำลังทดสอบอะไรผมบางอย่าง ส่วนเรื่องอยากมีชื่อเสียงบนผืนผ้าใบนั้น โดยส่วนตัวผมก็ไม่ได้คิดจริงจังเรื่องเรียนมวยเพื่อการแข่งขันอยู่แล้วตั้งแต่แรก แต่ที่อยากฝึกมวยอีกเรื่อยๆ นั้นเพื่อเพิ่มทักษะในการใช้ต่อสู้ป้องกันตัว และมีความหลงใหลการฝึกฝนวิทยายุทธเข้าแล้ว อาจเป็นเพราะตอนพูดคุยกัน หมอน้อยถามว่าผมฝึกอะไรมาบ้าง ผมจึงเล่าให้แกฟังว่าผมฝึกมวยอะไรมาแล้วบ้าง รวมทั้งเรื่องที่ผมเพิ่งไปร่วมแข่งขันรายการไทยแลนด์โอเพ่นคาราเต้โด ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ผมไปแข่งขันก่อนที่จะมีเรื่องชกต่อยกับรุ่นพี่ที่มหาวิทยาลัย

เข้าร่วมการแข่งขันคาราเต้ในปี พ.ศ.2530

ผมเข้าร่วมแข่งขันในนาม สมาชิกชมรมคาราเต้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเพราะในปี พ.ศ.2530 ผมเคยเรียนและฝึกคาราเต้จากที่นั่น ตอนนี้ผมมาเรียนที่มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ แล้วในตอนที่ผมเข้าร่วมแข่งขัน คาราเต้ นั้นผมวัยย่าง 18 ปี ผมฟิตร่างกายด้วยตัวเองอย่างมีวินัย

แต่ก่อนถึงวันแข่งขันเพียง 1 สัปดาห์ ผมประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ล้ม เพราะหักหลบหมาที่วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถ ตัวผมลื่นไถลไปกับพื้นถนนทำให้ด้านข้างของแขนขวามีแผลถลอกเลือดซิบๆ เป็นแนวยาว ผมเดินทางจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาคาราเต้โด เมื่อถึงตอนแข่งขันผมตั้งการ์ดด้วยมือซ้ายเล็งไปยังคู่แข่งขัน จำต้องเอาแขนขวาไขว้หลังเป็นระยะๆ เกือบตลอดการแข่งขันเพราะแขนยังเป็นแผล และมีอาการเจ็บอยู่ มีออกหมัดชกตรงด้วยหมัดขวาบ้างในจังหวะที่มีโอกาสทำคะแนน แต่ไม่ใช้ในการบล็อกอาวุธคู่ต่อสู้ ผมจำไม่ได้ว่ามีผู้ร่วมแข่งขันในรุ่นนี้ทั้งหมดกี่คน แต่ผมลงแข่งและชนะรวดราว 5 คน ผมได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ในรายการ ไทยแลนด์โอเพ่นคาราเต้โดครั้งที่ 1 รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 60 กก. ในปี พ.ศ.2531 ก่อนวันแข่งหนึ่งวันผมแวะไปเยี่ยมอาจารย์กฤช วรธำรงค์ หรือเฮียกฤช ที่สอนเทควันโดผม บ้านท่านอยู่ในซอยลาดพร้าว 95 ส่วนผมมาพักอยู่ที่บ้านของญาติในซอยลาดพร้าว 97 ผมชวนท่านไปชมการแข่งขันคาราเต้ แต่ท่านติดธุระไม่สะดวกไปเชียร์ เมื่อแข่งเสร็จแล้ววันรุ่งขึ้นผมจึงไปหาเฮียกฤชที่บ้าน และชวนกันไปหาอาจารย์โค้วที่บ้านย่านเยาวราช

เมื่อปี พ.ศ.2530 เฮียกฤชเคยพาผมไปพบกับอาจารย์โค้ว (อาจารย์โควจุนฮุยหรือประมวล ภูมิอมร) เป็นครั้งแรกเพื่อรักษาอาการช้ำในจากการฝึกซ้อมที่ชมรมคาราเต้ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เฮียกฤชเล่าว่า อาจารย์โค้วเป็นหมอรักษาแบบแผนจีนโบราณ จัดกระดูกฝังเข็ม ครอบแก้ว ท่านมีทักษะยุทธทั้งแข็งและอ่อน อีกทั้งยังเรียนรู้มวยไทยอีกด้วย จนกระทั่งเมื่ออาจารย์โค้วประสบอุบัติเหตุขาข้างขวาต้องใส่ขาเทียม ท่านจึงมุ่งไปที่มวยไท่เก๊กเป็นหลัก อาจารย์โควจุนฮุยเป็นที่รู้จักกันในนามอาจารย์โค้ว สำนักไท่เก๊กแห่งวัดสัมพันธวงศ์หรือวัดเกาะ ย่านเยาวราช กรุงเทพฯ เฮียกฤชเป็นหนึ่งในศิษย์รุ่นแรกๆ ที่เรียนมวยไท่เก๊กจากอาจารย์โค้ว

ผลการแข่งขันคาราเต้

เมื่ออาจารย์โค้วทราบว่า ผมชนะการแข่งขันคาราเต้มา ท่านถามว่าลงแข่งครั้งนี้มีบาดเจ็บตรงไหนบ้าง ผมบอกท่านว่าศอกขวาผมมีอาการบวมและรู้สึกเจ็บมากจนขยับแขนขวาไม่ได้ คงเกิดจากจังหวะตอนรับเตะคู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อผมยื่นเหรียญทองให้ท่านดูอาจารย์โค้วไม่ได้สนใจเหรียญทองมากนัก ท่านทำการพอกยารักษาให้พลางสอนผมว่า “เหรียญทองแบบนี้ยังใช้ไม่ได้ ลื้อขึ้นไปแข่งสภาพแบบไหน ตอนจบหรือชนะเป็นแชมป์ ลื้อต้องลงมาสภาพแบบนั้น ถึงจะถือว่าใช้ได้ ในเมืองจีนหากมีเวทีประลองยุทธกัน ผู้ที่ชนะหรือเป็นแชมป์เมื่อออกจากเวทีจะมีคนมีฝีมือมาขอท้าประลองลื้อต่ออีก หากลื้อได้รับบาดเจ็บจาก การต่อสู้ อย่างเต็มที่บนเวทีมาแล้ว เมื่อลื้อต้องสู้กับคนมีฝีมือที่รอขอท้าประลองแชมป์ ก็มีโอกาสพลาดและพ่ายแพ้ได้เพราะคนแบบนี้ต้องการสู้กับผู้ชนะคนเดียวเลย” เมื่อจบการแข่งขันและเสร็จจากเยี่ยมเฮียกฤช และไปรักษาอาการบาดเจ็บกับอาจารย์โค้วที่กรุงเทพฯ เรียบร้อยแล้วผมจึงเดินทางกลับมาเชียงใหม่ใช้ชีวิตตามปกติ

ผลการแข่งขัน คาราเต้

ในการแข่งครั้งนี้ทำให้ผมมีรายชื่อติดเข้าร่วมเป็นนักกีฬาคาราเต้ทีมชาติไทย ไปร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 15 ในปี ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) ที่กัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย อีกไม่กี่วันหลังจากนั้น แม่ก็ขึ้นมาเชียงใหม่เพื่อเยี่ยมผม ระหว่างที่แม่มาอยู่ด้วย ผมไม่ได้ฝึกซ้อมอะไรให้แม่เห็นมากนัก เว้นแต่ฝึกกำลังบ้างเล็กๆ น้อยๆ เจอกันครั้งนี้แม่ผมไม่ได้บ่นว่าผมเลย ดูแม่เงียบๆ ผิดปกติ แม่มาเยี่ยมผมแค่สองวันแล้วก็กลับบ้านที่อำเภอหาดใหญ่

ผมเอะใจจึงไปเปิดดูเสื้อชุดฝึกคาราเต้ทั้ง 3 ชุด ที่แขวนไว้ในตู้เสื้อผ้า ปรากฏว่าชุดเหล่านั้นแม่มาเก็บเอาไปหมดเลย เมื่อผมโทรหาแม่ ท่านบอกผมว่ามีเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกัน อ้างว่าได้ดูข่าวจากโทรทัศน์ประกาศชื่อผมว่าได้เข้าร่วมเป็นนักกีฬาคาราเต้ทีมชาติไทยด้วย เพื่อนบ้านคนนั้นตื่นเต้นดีใจรีบมาบอกให้แม่ผมรู้ แม่อยากให้ผมมุ่งมั่นเรื่องการเรียนแทนที่จะเป็นนักกีฬา ผมได้แต่ทำใจเพราะรู้อยู่แล้วว่าแม่ไม่เปิดใจ และไม่สนับสนุนให้ผมเรียนวิชา การต่อสู้ สมัยเป็นเด็กท่านเป็นห่วงไม่อยากให้ผมไปมีเรื่องทะเลาะวิวาท แม่จะตีผมซ้ำทุกครั้งไม่ว่าผมจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด หากมีเรื่องชกต่อยทะเลาะวิวาทกลับมา จากเหตุการณ์ที่แม่มาเอาชุดฝึกคาราเต้ผมไปทั้งหมด ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่ได้กังวลเรื่องอยากมีชื่อเสียงบนผืนผ้าใบแบบที่หมอน้อยพูดไว้ “ถ้านายอยากเรียนมวยจีน ผมจะสอนให้ แต่ถ้านายอยากมีชื่อเสียงบนผืนผ้าใบก็ไม่ต้องมาพูดเรื่องอยากฝึกมวยกับผมอีก ถ้าอยากมาฝึกให้โกนหัวล้านมาเลยนะ” คือที่หมอน้อยพูดกับผมตอนพบกันในปี พ.ศ.2531 ที่ผมไปรักษาแบบแผนจีนกับท่าน

วันรุ่งขึ้นผมไปโกนผมหัวล้านและเข้าไปหาหมอน้อยในค่ำวันนั้นเลย หมอน้อยคงพอใจและเริ่มให้ผมฝึกมวยจีนของสำนักลิ่วเหอได้ หมอน้อยให้ผมเรียกท่านว่า “พี่น้อย” แทนคำว่าหมอน้อยหรืออาจารย์น้อย

เวลาหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มของทุกวันพี่น้อยนัดผมให้ไปฝึก มวยจีน ที่บ้านพี่บูลย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักลิ่วเหอพี่บูลย์นั่งบนรถเข็นเพราะเคยประสบอุบัติเหตุขาพิการ คนนำฝึกคือพี่ชุม ทั้งสองคนเป็นศิษย์น้องของพี่น้อย ทั้งหมดเรียนมวยจีนมาจากอาจารย์ก๋วยเส็ง ขณะนั้นมีคนมาฝึกอยู่ราว 11 คน ผมฝึกท่าการยืนม้า เดินม้าบนพื้น เดินม้าบนแคร่ กระโดดม้าข้ามไห ยืนม้าชก ฝึกกำลังนิ้วด้วยไห ฝึกฝ่ามือเดี่ยว ฝ่ามือคู่ กรรไกรคู่ มือปิดฟ้าดิน ตีเสาไม้สามเสา ฯลฯ เมื่อเวลาสามทุ่มผมฝึกมวยจากสำนักลิ่วเหอเสร็จ ผมก็ไปฝึกต่อที่บ้านพี่น้อยอีกกว่าผมจะกลับบ้านก็ไม่ต่ำกว่าเที่ยงคืน ยิ่งคืนวันศุกร์ วันเสาร์ไหนได้ฟังพี่น้อยคุยเฟื่องเรื่องมวยไปด้วยก็นั่งยาวเลยไปถึงตีสี่ตีห้าถึงจะได้ลากลับบ้าน

มวยจีนหรือวิทยายุทธจีนน่าหลงใหล

การได้ฝึก มวยจีน แบบนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์จีนกำลังภายในที่เคยได้ดูตั้งแต่สมัยเด็ก วิทยายุทธจีนน่าหลงใหลมีท่วงท่าที่สง่างามและแข็งแรง มีท่ารำท่ามือท่าเท้าที่แฝงปรัชญาน่าค้นหา มีธรรมเนียมและประวัติศาสตร์ที่สืบทอดมาช้านาน ควรค่าแก่การฝึกฝนยิ่งนัก

ภาพในปี พ.ศ.2540 ผลและหมอน้อย ท่านมีชื่อเสียงทางด้านรักษากระดูกและเส้นเอ็นแบบแผนโบราณทั้งยังเป็นครูสอนมวยจีนด้วย
ภาพในปี พ.ศ.2540 ผลและหมอน้อย ท่านมีชื่อเสียงทางด้านรักษากระดูกและเส้นเอ็นแบบแผนโบราณทั้งยังเป็นครูสอนมวยจีนด้วย
การต่อสู้ มวยจีน สำนักลิ่วเหอ
ผมไปเยี่ยมพี่บลูย์ที่สำนักลิ่วเหอในปี พ.ศ.2547

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลานไฉ่เหอ (藍采和; แต้จิ๋ว: น่าไชหัว, ฮกเกี้ยน: หน่าไฉฮัม) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนผู้เ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หานเซียงจื่อ (韓湘子; ฮกเกี้ยน: ฮั้นเจียวจู้) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนแห่งลัทธิเต๋า ผู้ม...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลี่เถียไกว่ (李鐵拐; กวางตุ้ง: เหล่ยทิดกวาย, แต้จิ๋ว: ลี้ทิก๋วย, ฮกเกี้ยน: ลี่ทิกุย) หรือที่รู้จักในชื...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เหอเซียนกู (何仙姑; แต้จิ๋ว: ฮ่อเซียนโกว, ฮกเกี้ยน: เฮอเซียนก๊อ) หรือที่รู้จักในชื่อ “นางฟ้าเหอ&#...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ลฺหวี่ ต้งปิน (呂洞賓; แต้จิ๋ว: ลือท่งปิน, ฮกเกี้ยน: ลีตงปิ่น) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนใ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
จงหลีเฉฺวียน (鐘离權; กวางตุ้ง: จงสิดขือ, ฮกเกี้ยน: เจี๋ยงตีควน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซีย...