Taifudo Academy

บทที่ 23 ผู้สืบสายอี้ลี่ฉวน (I Liq Chuan)

บทที่ 23 ผู้สืบสายอี้ลี่ฉวน (I Liq Chuan)
taifudo book23 (Web V)

บุญมา วาสนาส่ง เมื่อมีบุญ มีวาสนา ก็จะได้สิ่งที่ดี ผมกล่าวถึงอาจารย์ Yip Fook Choy สายมวย Yip Kin Wing Chun และบอกไว้ว่าไม่ใช่เราจะหาอาจารย์ที่ไหนก็ได้ แต่มันต้องมีบุญและวาสนาต่อกันด้วยราวปี ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) มีเรื่องราวที่ทำให้ผมกับอาจารย์ Yip Fook Choy มีเรื่องราวต้องผูกพันกัน การได้ยกน้ำชากับอาจารย์ Yip Fook Choy ไม่ใช่เพราะเรื่องมวยเป็นหลักแต่เพราะความยุติธรรม ท่านไม่ฟังความที่คนพูดให้ร้ายผม ท่านเดินทางมาจากมาเลเซีย มาหาและพิสูจน์สิ่งที่คนให้ร้ายผมด้วยตัวท่านเอง ท่านมาหาผม อยู่กับผมที่หาดใหญ่

วันที่ท่านกลับ ท่านบอก Andy เพื่อนชาวจีนมาเลย์ของผมที่อาสาพาท่านมาหาผม โดยแปลไทยได้ว่า ชีวิน ไม่ได้เป็นอย่างที่คนกล่าวหามา” (Andy พูดไทย จีน อังกฤษ และมาลายูได้) Andy เรียนมวยหวิงชุนกับอาจารย์ Yip Fook Choy ตอนอายุ 17 ปี ส่วนผมและ Andy รู้จักเป็นเพื่อนกันมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 นับถึงตอนนี้ก็เกือบจะ 20 ปี แล้วหลังจากนั้นผมขอให้ Andy ช่วยบอกท่านให้รับผมเป็นศิษย์ยกน้ำชา เป็นศิษย์สายในของสายมวย Yip Kin Wing Chun อาจารย์ Yip Fook Choy บอกว่าไม่ได้รับศิษย์สายในนานมากแล้วแต่จะรับผมเป็นคนสุดท้ายและเป็นคนเดียวในประเทศไทย

ต่อมาในปี พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009)

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ผมจึงได้รับอนุญาตให้ทำพิธียกน้ำชา มอบตัวเป็นศิษย์ สืบสายมวยหวิงชุนสายอาจารย์ Yip Kin จึงนับได้ว่าผมเป็นลูกศิษย์ที่ยกน้ำชา (ศิษย์ยกน้ำชาอาจารย์มี 3 คน) ผมเป็นศิษย์ยกน้ำชาคนสุดท้ายของอาจารย์ Yip Fook Choy และเป็นศิษย์คนแรกในประเทศไทย ที่สืบสายมวยหวิงชุนสืบสายปรมาจารย์ Yip Kin ผมเดินทางไปทำพิธียกน้ำชาที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียโดยมีอาจารย์ลุง, อาจารย์อาและศิษย์พี่น้อง Yip Kin Wing Chun มาร่วมเป็นสักขีพยานกันผมได้รับถ่ายทอดมวยจากท่านทั้งที่กัวลาลัมเปอร์ และทุกครั้งที่ท่านมาหาผมที่หาดใหญ่ และท่านให้เกียรติมาร่วมงานในงานไหว้ครูไทฟูโดปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมาด้วย

คืนวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2562

Andy ส่งภาพคู่กับอาจารย์ Yip Fook Choy มาให้ผมทางไลน์ Andy บอกว่าอยู่ในงานของสมาคมมวยจีนในกัวลาลัมเปอร์ อาจารย์ Yip Fok Choy บอก Andy ว่า งานไหว้ครูไทฟูโดปี พ.ศ.2563 ท่านจะมาร่วมงานด้วย จะมาถ่ายทอดมวย Yip Kin Wing Chun ที่เหลือและให้ผมถ่ายวิดีโอเก็บไว้ศึกษาด้วย ช่วงบ่ายวันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2562 ผมทราบข่าวร้ายว่า อาจารย์ Yip Fook Choy ที่ผมเคารพรักยิ่ง ท่านได้จากไปแล้วอย่างสงบ (ท่านเป็นลมแล้วล้มสลบไป) การจากไปเป็นอะไรที่กะทันหันยากจะทำใจได้ผมและครอบครัวเดินทางไปมาเลเซียเพื่อร่วมงานพิธีศพท่านในวันที่ 28-30 สิงหาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมาเพื่อร่วมส่งท่านสู่สุขคติ

วันที่ 28 สิงหาคม ผมบินจากหาดใหญ่ไปถึงกัวลาลัมเปอร์ช่วงเย็น ผมรอ Andy มารับและเราไปร่วมงานศพคืนนั้นเลย ภายในงานมีจอมยุทธหลายรุ่นหลายสำนักและเพื่อนๆอาจารย์ Yip Fook Choy ที่เป็นจอมยุทธอีกหลายท่านก็มาร่วมงานศพด้วย หนึ่งในนั้นคือ อาจารย์จิมมี่ (Jimmy Heow) ท่านเป็นอาจารย์สอนมวย I Liq Chuan (อี้ลี่ฉวน) หลังจากเคารพศพอาจารย์ Yip Fook Choy สักครู่ผมออกมานั่งบริเวณงานและได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์จิมมี่และคนอื่นๆ อาจารย์มวยต่างๆบางคนผมเคยเจอบ้างแล้วแต่ครั้งนี้ผมเพิ่งเจอกับอาจารย์จิมมี่เป็นครั้งแรก

ประมาณ 7 ปีที่แล้ว (ช่วงปี ค.ศ.2012)

ตอนช่วงที่ผมยังเดินทางไปๆ มาๆ หาดใหญ่-มาเลเซีย อยู่บ่อยๆ ผมเคยได้ยินชื่อมวย I Liq Chuan (อี้ลี่ฉวน) ครั้งแรกจาก Andy “อาจารย์สนใจมวยอี้ลี่ฉวนมั้ย อยากไปเยี่ยมสำนักมั้ย ตอนนี้คนมาเลย์สนใจไปฝึกกันอยู่นะ” Andy เสนอ ตอนนั้นผมก็ยังนึกภาพไม่ออกเมื่อพูดถึงมวยอี้ลี่ฉวน ผมตอบ Andy แบบไม่ได้รู้สึกสนใจเท่าไหร่ว่า “ไม่เป็นไร” แต่ผมจำชื่อมวยอี้ลี่ฉวนได้ดี

คืนนั้นระหว่างสนทนากัน อาจารย์จิมมี่ให้ผมผลักมือด้วย เมื่อเราแตะมือกัน ผมออกมือเกาะติดไปอย่างไท่เก๊กเพื่อรอฟังแรงจากมือเกาะติดอย่างอี้ลี่ฉวนของอาจารย์จิมมี่ เมื่อผมได้สัมผัสมือเกาะติดอย่างมวยอี้ลี่ฉวนแล้ว ผมรู้สึกว่าทั้งไท่เก๊กและอี้ลี่ฉวนมีวิธีการและท่วงท่าที่มีการแก้ทางกันอยู่ในมวย ผมรู้สึกว่ามวยอี้ลี่ฉวนเป็นอะไรที่น่าสนใจและน่าศึกษาเพิ่มเพื่อเสริมให้ผมครบถ้วนมากยิ่งขึ้น จากที่ได้พบกันครั้งแรกกับอาจารย์จิมมี่ผมรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งที่ทำให้ผมและอาจารย์จิมมี่พูดคุยกันถูกคอ “หรือว่าอาจารย์ Yip Fook Choy จะเปิดโอกาสให้ผมพบอาจารย์คนใหม่ซึ่งเป็นเพื่อนของท่านในการมาลาท่านครั้งนี้” ผมแอบคิดเข้าข้างตัวเอง ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าคนมีฝีมือยังมีอีกเยอะเจอครูดีต้องรีบไขว่คว้า

คืนนั้นเมื่อได้โอกาสผมถามแบบซื่อๆเลยว่าอาจารย์จิมมี่รับลูกศิษย์อีกมั้ยครับ งานนี้ต้องให้ Andy เป็นล่ามจีนให้เพื่อการสนทนาที่เข้าใจถูกต้องตรงกัน อาจารย์จิมมี่บอกให้ Andy พาผมมาหาท่านได้ในเช้าวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562 มาทานอาหารมื้อเช้าแล้วพูดคุยในรายละเอียดกัน อาจารย์จิมมี่ ท่านพาลูกศิษย์มาด้วย 2 คน ศิษย์พี่เหลียงและศิษย์พี่กฤษ (ผมออกเสียงแบบไทย) เมื่อคุยทุกอย่างลงตัว ผมหวังไว้ว่าจะได้เรียนวิชาอี้ลี่ฉวนจากอาจารย์จิมมี่ในเร็ววัน ก่อนลากลับอาจารย์จิมมี่ให้ลูกศิษย์ทั้ง 2 คนทดสอบฝีมือผมนิดหน่อย ผมได้เชิญอาจารย์จิมมี่มาหาดใหญ่และได้เชิญชวนศิษย์พี่ในสายอี้ลี่ฉวน มาเที่ยวหาดใหญ่ด้วย

Chin Lik Keong ผู้ก่อตั้ง I Liq Chuan

มวยอี้ลี่ฉวน I Liq Chuan ก่อตั้งโดย อาจารย์ Chin Lik Keong ท่านศึกษาศิลปะการต่อสู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญกังฟูหลายคนรวมถึงการฝึกกับMaster Lee Sum สไตล์ Lee, ฝึกกับ Master Len Gok ชุดมวย Phoenix Eye ที่เน้นการใช้นิ้วโจมตีที่จุดลมปราณและอาจารย์คนสุดท้ายของอาจารย์ Chin Lik Keong คือ Master Lee Kam Chow ผู้ฝึกฝนและสืบทอดมวย Feng Yang Lu Yi, Hsing-I Bagua หรือ Liew Mun Pai.

อาจารย์ Chin Lik Keong เป็นผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ที่มีพรสวรรค์และเป็นที่รู้จักในความสามารถพิเศษของท่าน ในปี ค.ศ.1968 ลูกศิษย์อีกคนของ Lee Kam Chow, Kong Siew San ได้ขอให้ อาจารย์ Chin Lik Keong เริ่มสอนที่บ้านของเขา Kong Siew San ชักชวนคนมาเรียนไม่กี่คนและถือเป็นกลุ่มแรกที่รวมตัวฝึกในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ความสามารถของอาจารย์ Chin Lik Keong ในการผสมผสานและกลั่นกรองเทคนิคการต่อสู้จากสไตล์ที่แตกต่างให้เป็นหลักการพื้นฐานทำให้ท่านได้รับความเคารพจากคนรอบข้างและยอมรับว่าเป็นอาจารย์ของศิษย์กลุ่มแรก

เมื่ออาจารย์ Chin Lik Keong แสดงทักษะท่านจะแสดงวิธีจัดการกับพลังงานหรือแรงของคู่ต่อสู้แทนที่จะฝึกเทคนิค คำสอนของอาจารย์ Chin Lik Keong กลายเป็นที่รู้จักในนาม “Master Art” เนื่องจากความสามารถของท่านในการชี้แนะผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการต่อสู้ถึงระดับทักษะที่สูงขึ้นผ่านทางการสัมผัสของท่าน ในช่วงเวลาหลายปีของการฝึกฝนและการไตร่ตรองอาจารย์ Chin Lik Keong ตระหนักและหล่อหลอมทักษะของท่านไปสู่พื้นฐานการเคลื่อนไหวตามลักษณะของร่างกายมนุษย์

ท่านได้พัฒนาและพัฒนาเกินกว่าสไตล์ คำนึงถึงความสำคัญที่พร้อมกันทุกรูปแบบในขณะที่ไม่มีรูปแบบ ดังนั้นสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ของการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนโดยพิจารณาจากความไวความสนใจและพื้นฐานของการประสานงานตามธรรมชาติที่สมดุล ท่านไม่เคยตั้งใจที่จะเป็นผู้ก่อตั้งระบบใหม่ แต่ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงพลังแห่งความสนใจและความรู้และด้วยการทำให้หลักการพื้นฐานเหล่านี้กลายเป็นแนวคิดหลักในการสอนของท่านกระบวนการของท่านจึงพัฒนาเป็นวิธีการใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“อย่ามองการเคลื่อนไหว มองหาหลักการที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหว” Don’t look at the move. Look for the idea behind the move.” Master Chin Lik Keong: Founder of I Liq Chuan ในปี ค.ศ.1973 สิ่งที่เริ่มต้นในปี ค.ศ.1968 ในฐานะกลุ่มผู้ฝึกอบรมที่พัฒนาเป็นโรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้เล็กๆ ห่างออกจากบ้านของ Kong Siew San และฝึกสอนโดยอาจารย์ Chin Lik Keong ในช่วงเวลานั้น Kong Siew San นำ Wong Choon Ching เข้ามาในชั้นเรียนผู้ซึ่งกลายเป็นนักเรียนที่ทุ่มเทและผู้สนับสนุน Master Chin Lik Keong อย่างรวดเร็ว หว่องชุนชิงเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนมัธยมในกัวลาลัมเปอร์เขาช่วยจัดการเรื่องการย้ายชั้นเรียนจากบ้านของ Kong Siew San ไปที่โรงยิมของโรงเรียน

Wong Choon Ching เข้าใจถึงความสำคัญของการทำให้ชื่อการสอนของอาจารย์ Chin Lik Keong เป็นทางการเพื่อแยกความแตกต่างจากรูปแบบอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่ออาจารย์ Chin Lik Keong ในตอนแรกอย่างชัดเจน เส้นทางการฝึกศิลปะการต่อสู้สู่ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ Chin Lik Keong นั้นมีความแปลกใหม่สร้างสรรค์และเป็นของท่านเอง

นักเรียนของท่านเข้าใจและชื่นชอบสิ่งนี้ดังนั้นพวกเขาจึงสนับสนุนอาจารย์ Chin Lik Keong ในการเปลี่ยนมาใช้ระเบียบแบบแผน ในการจับสาระสำคัญของการสอนของอาจารย์ Chin Lik Keong Wong Choon Ching เสนอชื่อ I Liq Chuan เพื่อเป็นตัวแทนความคิดหลักของอาจารย์ Chin Lik Keong ที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึก (I) และ พลัง (Liq) ในปีต่อๆ มามีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อาจารย์ Chin Lik Keong และ I Liq Chuan และมีลูกศิษย์ของท่านหลายคนเข้าร่วมการแข่งขันศิลปะการต่อสู้เพื่อเป็นตัวแทน I Liq Chuan เพื่อสร้างศิลปะป้องกันตัวแบบใหม่

สมาคม I Liq Chuan ได้ถูกก่อตั้ง

ในปี ค.ศ.1976 สมาคม I Liq Chuan ของมาเลเซียได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อให้โรงเรียนเป็นระเบียบและสนับสนุนกฎหมายการชุมนุมสาธารณะที่เข้มงวดในเวลานั้น ต่อมาอาจารย์ Chin Lik Keong เริ่มสอนต่อสาธารณชนและยังคงมีชั้นเรียนตอนเช้าในสวนตลอดชีวิตของ ท่านปรมาจารย์ Chin Lik Keong เสียชีวิตอย่างสงบสุขเมื่ออายุ 84 ปี ในวันเกิดของท่านคือวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2014

ทุกๆ ปี นักเรียนจากทั่วทุกมุมโลกมาที่มาเลเซียเพื่อเยี่ยมชมปรมาจารย์และฝึกอบรมที่บ้านของเขา และในปี ค.ศ.2014 พวกเขามาไหว้และกล่าวคำอำลากับอาจารย์ Chin Lik Keong ผู้ก่อตั้ง I Liq Chuan ในช่วงชีวิตของลูกศิษย์ ได้เห็นศิลปะการต่อสู้ของท่านเติบโตจากกลุ่มเล็กๆ สี่คนไปจนถึงเครือข่ายระหว่างประเทศที่เฟื่องฟูของลูกศิษย์ที่อุทิศตนเพื่อให้บรรลุทักษะสูงสุดและส่งต่อศิลปะการต่อสู้ I Liq Chuan ไปสู่คนรุ่นต่อไปในอนาคต

ต้นกำเนิดอี้ลี่ฉวน (I Liq Chuan)

ต้นกำเนิดของมวยอี้ลี่ฉวน I Liq Chuan คือการสั่งสมศิลปะการต่อสู้นับศตวรรษของกลุ่มชาวจีนฮากกา (Hakka) (Kung Fu หรือ Kuntao) ถ่ายทอดลงมาแบบลับเฉพาะในการเดินทางและการอพยพในประวัติศาสตร์จีน พวกเขาพัฒนาศิลปะการต่อสู้มากมายเพื่อปกป้องตนเอง ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้ไม่ได้สอนให้คนจีนคนอื่นๆ แต่จะถ่ายทอดไปยังภายในครอบครัวหรือตระกูลเท่านั้น การก่อเกิด I Liq Chuan มีศิลปะที่อ้างลักษณะ “Fung Yang” เป็นพื้นฐานรากอย่างหนึ่ง “Fung” หมายถึงนกตัวผู้ในตำนานจีนที่มีห้าสี แต่ละสีแสดงถึงการมาถึงของสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังแสดงถึงความยุติธรรมการเชื่อฟังและความซื่อสัตย์อีกด้วย การปรากฏตัวของ “ฟุง” หมายถึงการปรากฏตัวของการกระทำที่ดี “Yang” “หยาง” หมายถึง “สว่าง” “แวววาว” “ส่องสว่าง” ดังนั้นสามารถแปลได้ว่า “ชายผู้ส่องสว่างที่นำความยุติธรรม”

พื้นฐานที่ต้องมีความแข็งแกร่งจากภายใน การส่งพลัง การคว้ามือ มือเกาะติด และ Chin na (Qin na (擒拿) เป็นชุดของเทคนิคการล็อกข้อต่อที่ใช้ในศิลปะการต่อสู้ของจีนเพื่อควบคุมหรือล็อกข้อต่อของกล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อ/เส้นเอ็นของคู่ต่อสู้เพื่อที่เขาจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้) ศิลปะการต่อสู้แบบต่างๆ ของชาว Hakka ล้วนมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ของ I Liq Chuan ได้แก่ Fung Ngan (Eye of the Phoenix) อาจทำให้ถึงตายโดยใช้ดัชนีตีไปที่จุดลมปราณ วิชาเหล่านี้จะสอนใน I Liq Chuan ในขั้นที่ระดับสูงขึ้นไป

I Liq Chuan เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เน้นการพัฒนา พลังภายในผ่านการฝึกจิตและการรับรู้ มันขึ้นอยู่กับหลักการของการไม่ยึดติด ไม่ต่อต้านการผสมผสานของหยินและหยางเพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวผู้ฝึกจะได้รับการสอนศิลปะผ่านปรัชญาและชุดของการออกกำลังกายเพื่อเรียนรู้ที่จะรู้สึกและควบคุมการไหลของพลังงานภายใน (Chi) การฝึกฝนศิลปะนี้เป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทและภายในทั้งหมดซึ่งเอื้อต่อการควบคุมทั้งหมดความสามัคคีและการรับรู้ต่อจิตใจและร่างกาย โดยการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ (หยินและหยาง) ของร่างกายรับรู้ถึงข้อจำกัด ของโครงสร้างการเคลื่อนที่ในระนาบสามมิติ จะเปลี่ยนพลังงานภายในนี้ให้กลายเป็นพลังงานภายในสะสมพลังชีวิตที่เหมาะสมกับร่างกาย การเคลื่อนไหว I Liq Chuan พัฒนาความแข็งแกร่ง ขีดจำกัดของผู้ฝึกและเพิ่มความสามารถในการป้องกันตัวเองให้ดีขึ้น

I Liq Chuan สามารถผสมผสานกับชีวิตประจำวัน

I Liq Chuan สามารถผสมผสานศิลปะเหล่านี้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ฝึกและตระหนักในข้อที่ว่าจะไม่ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น การปลูกฝังจิตสำนึกเผยให้เห็นธรรมชาติของทุกสิ่ง ดังนั้นผู้ฝึกเข้าใจสาเหตุและผลกระทบในชีวิตและมีความสามารถในการรักษาความเข้าใจที่ถูกต้องในทุกสถานการณ์ การมีสติที่ถูกต้องคือสภาวะทางจิตใจของการเป็นคนเป็นกลางไร้รูปแบบ ณ ปัจจุบัน มันเป็นสภาวะ (Wu Ji) ไม่มีสิ้นสุดแต่ให้ตระหนักถึงโลกทางกายภาพ

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจว่า หลักการและปรัชญาของมวยภายใน (มวยอ่อน) นั้น มีแก่นสารที่เหมือนกัน ฉะนั้นแล้วมวยภายใน (มวยอ่อน) ในขั้นที่ลึกๆ จึงมีความคล้ายคลึงกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

สิ่งที่คล้ายกันก็เช่น “หลักการของไท่เก๊ก” ที่มีการอ้างถึงหลักการของไท่เก๊กเหมือนๆ กัน เช่นพูดถึงหลัก หยิน-หยาง, อ่อน-แข็ง, ซ้าย-ขวา สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างไปจากเราเลย อันที่จริงแล้วการฝึกของเราต่างหากที่มันต่างเราจะยกตัวอย่างให้คุณเข้าใจถึงความต่างระหว่าง “ไท่เก๊ก” กับ “มวยไท่เก๊ก”

ไท่เก๊กนั้นหมายถึงสภาวะอย่างหนึ่งของหลักการทางเต๋า Wu Ji -> Tai ji -> Liang yi -> Si Xiang -> Ba Gua อู่จี๋ ไม่สิ้นสุด -> ไท่จี๋ สรรพสิ่ง -> เหลี่ยงหยี ทวิลักษณ์ (2 ขั้ว) -> ซื่อเซี่ยง 4 ภาพ -> ปา กั้ว -> 8 ทิศ และมันก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะเรียนรู้หรือเชี่ยวชาญ “ไท่เก๊ก” ได้จากการฝึก “มวยไท่เก๊ก” หรอก น่าเสียดายที่กระแสการฝึกมวยจีนในทุกวันนี้ ฝึกเพื่อใช้เป็นกีฬา (เช่นการแข่งผลักมือ ที่ถูกจำกัดด้วยกฏกติกา) หรือเพื่อสุขภาพ (เช่นเพื่อผ่อนคลาย ฝึกสมาธิและฟื้นฟูร่างกาย) ซึ่งผิดไปจากจุดประสงค์หลักๆ ของไท่เก๊ก

การนำไปประยุกต์ใช้จริง

การเข้าใจในหลักการกับการนำไปประยุกต์ใช้จริงได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น เป็นเรื่องที่แตกต่างกันและเราสามารถแยกคนออกมาได้ 3 ประเภท

  1. คนที่อธิบายหลักการเก่งแต่ใช้งานไม่เป็น
  2. คนที่เก่งกับลูกศิษย์ตัวเอง หรือเก่งแต่กับใช้งานที่เตี๊ยมกันมาหรือคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
  3. คนที่สามารถใช้งานได้จริงไม่ว่าเหตุการณ์ตรงหน้าจะเป็นอย่างไรสถานการณ์ที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ประสบการณ์และการรับรู้ที่แตกต่างกันไป อี้ลี่ฉวนได้ ตอบโจทย์ของคุณ เพราะได้รวมหลักการของไท่เก๊กไว้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ระบบการฝึก เทคนิคต่างๆ รวมทั้งวิธีการฝึกกำลังนั้นแตกต่างจากมวยประเภทมวยภายใน (มวยอ่อน) แบบอื่นๆ ถึงแม้ว่าในบางครั้งมวยเหล่านั้นมันอาจจะดูมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ในอี้ลี่ฉวนก็ยังแตกต่างอยู่ดี ไม่มีผิดหรือถูกเพราะมันขึ้นอยู่กับเส้นทางในศิลปะการต่อสู้ที่คุณเลือกที่จะเป็น

ต้นกำเนิดของ I Liq Chuan ในช่วงยุค ค.ศ.1960-ค.ศ.1970 การเรียนรู้กังฟูไม่ใช่เรื่องง่าย อาจารย์จะไม่สอนนักเรียนทุกสิ่งที่เขารู้ ดังนั้นนักเรียนจึงเดินทางโดยรถไฟเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จุดเริ่มต้นมาจากกลุ่มนักเรียนของ Master Lee Kim Chow ที่ฝึกฝนและค้นคว้าเกี่ยวกับ Fung Yang Xing Yi Quan (凤阳形意拳) และ Ru Yi Bagua (如意八卦) การก่อตั้งสมาคม I Liq Chuan เริ่มต้นขึ้นเมื่อพวกเขาตัดสินใจที่จะตั้งชื่อใหม่ให้กับศิลปะการต่อสู้ของ Master Lee Kim Chow โดยก่อตั้งสมาคมอี้ลี่ฉวน I Liq Chuan Association ขึ้นในปี ค.ศ.1976 อาจารย์จิมมี่เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของ Master Lee Kim Chow เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม I Liq Chuan ในมาเลเซีย ในเวลานั้นอาจารย์จิมมี่อายุ 23 ปี

ปรมาจารย์จิมมี่ Jimmy Heow เริ่มฝึกกังฟูเมื่ออายุแค่ 8 ขวบ สมาชิกทุกคนในครอบครัวของเขาฝึกกังฟู เนื่องจากการฝึกกังฟูเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้คนทั้งเมืองในช่วงเวลานั้น ทุกคนในพื้นที่ใกล้เคียงฝึกฝนกังฟูอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ลุงของอาจารย์จิมมี่ ชื่อ Chin Lik Keong แนะนำอาจารย์จิมมี่ให้รู้จักกับอาจารย์สองสามคนรอบๆบ้านใกล้เรือนเคียง การเดินในเส้นทางการฝึกศิลปะการต่อสู้ของอาจารย์จิมมี่จึงได้เริ่มขึ้น

อาจารย์จิมมี่เริ่มฝึกกังฟูจาก Master Len Gok เพื่อนบ้านของท่านอาจารย์จิมมี่ได้ฝึก Plum Blossom 12 Points System (十二点梅花) และชุดมวย Phoenix Eye Kung Fu (凤眼功夫) ที่เน้นการใช้นิ้วโจมตีที่จุดลมปราณ ซึ่งMaster Len Gok นั้นเรียนศิลปะการต่อสู้มาจาก Master Chen Teck Fook ผู้ที่เรียนต่อมาจากMaster Chai Yen Seong จากประเทศจีนในระหว่างช่วงปี 1890 s. (ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 1890 ถึงปี 1899)

ศิลปะการต่อสู้อื่นๆ ที่จิมมี่ฝึกฝนได้แก่

  • Chu Gar Gao (朱家教) ภายใต้การฝึกสอนโดย Master Chin Yao Wan
  • Silk Reeling Staff (缫丝杖) ภายใต้การฝึกสอนโดย Master Then Fatt
  • Cai Mei Staff (采眉杖) ภายใต้การฝึกสอนโดย Master Lai
  • San Gong (神功), ภายใต้การฝึกสอนโดย Master Sang Chee Chong
  • Fung Yang Xing Yi Quan (凤阳形意拳), Ru Yi Bagua (如意八卦) และ the Lee style (李家拳) ภายใต้การฝึกสอนโดย Master Lee Kim Chow. มวย Ru Yi Bagua (如意八卦) เน้นการควบคุมคู่ต่อสู้ของเราขณะที่มวยFung Yang Xing Yi Quan (凤阳形意拳) คือผ่อนตามแรงและส่งพลัง (fa-jing, 发勁) Master Lee Kim Chow ฝึกศิลปะการต่อสู้มาจาก Master Chu Yin Cheon ในเมืองจีน Master Lee Kim Chow ยังเป็นผู้สืบทอดมวย Fung Yang Xing Yi Quan (凤阳形意拳)ด้วยและท่านเรียนมวย Ru Yi Bagua (如意八卦) จาก Master Lee Tian Kim อีกด้วย ต่อมา Master Lee Kim Chow ย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่มาลายา ท่านเริ่มเผยแพร่ศิลปะกังฟูในชุมชนชาวจีนที่นี่

นอกจากนี้อาจารย์จิมมี่ยังได้ฝึกฝนกังฟูกับ Master Chin Lik Keong ซึ่งเป็นลุงของท่านอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเพื่อปรับปรุงพัฒนาทักษะ และอาจารย์จิมมี่ยังได้รับการถ่ายทอดมวย Ru Yi Bagua (如意八卦) จาก Master Lee Tian Kim อีกด้วย อาจารย์จิมมี่ (Jimmy Heow) เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง I Liq Chuan (มวยอี้ลี่ฉวน) ในประเทศมาเลเซียและเป็นผู้ก่อตั้งสถาบัน Wu Ji I Liq Chuan Academy ในมาเลเซียอีกด้วย

อาจารย์จิมมี่ถือเป็นตำนานที่มีชีวิตในวงการศิลปะการต่อสู้เนื่องจากความสามารถและความสำเร็จที่น่าทึ่ง ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1980-ค.ศ.1990 ท่านเป็นที่รู้จักในนามมือปราบไท่เก๊ก (Tai Chi “Subduer/Nemesis” (太极克星)) ในขณะนั้นท่านท้าทายทุกคนออกสื่อเพื่อให้ลงแข่งขันผลักมือผู้มีฝีมือแต่ละท่านต่างเป็นตัวแทนของโรงเรียนไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกงและสิงคโปร์

จากการลงแข่งขันผลักมือนี้อาจารย์จิมมี่ (Jimmy Heow) ไม่เคยพ่ายแพ้ผู้ใด สมควรได้รับชื่อสมญานาม “มือปราบไท่เก๊ก” ด้วยความหลงใหลในศิลปะการต่อสู้ของอาจารย์จิมมี่ทำให้ท่านพัฒนาและปรับปรุงทักษะศิลปะการต่อสู้อย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น วันนี้แม้จะมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านเป็นผู้สร้างท่ารำชุด original 21 Movement Form 二十一式 (ปี ค.ศ.1986) ชุดมวยที่ใช้ฝึกฝนในมวย I Liq Chuan ทั่วโลกวันนี้

การต่อสู้ครั้งแรกของอาจารย์จิมมี่กับนักมวยไทยในปี ค.ศ.1974 นี่เป็นครั้งแรกในกติกาที่ต้องใส่นวมต่อสู้และทาตัวด้วยน้ำมัน การต่อสู้ต้องหยุดลงเพราะไม่คุ้นเคยกับการใส่นวมสู้กับคู่ต่อสู้ที่ทาตัวด้วยน้ำมัน หลังจากนั้นมาอาจารย์จิมมี่จึงปรับตัวและเริ่มฝึกใส่นวมในการต่อสู้

การต่อสู้ที่น่าจดจำที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1980 คู่ต่อสู้ของอาจารย์จิมมี่ สูงและเขามีแขนยาวและแข็งแรง ตามวิชากังฟูของจีนหากลักษณะกายภายนอกที่มีอาวุธเป็นแขนที่แข็งแรง “Kiu Sao” (桥手) ย่อมได้เปรียบแต่อาจารย์จิมมี่สามารถชนะการต่อสู้ด้วยการป้องกันอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน

ในปี ค.ศ.1976 สมาคม I Liq Chuan ก่อตั้งขึ้นโดยมีผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมด 7 คนโดยอาจารย์จิมมี่เป็นศฺิษย์น้องคนสุดท้อง

ผลงานของอาจารย์จิมมี่

  • ในปี ค.ศ.1975 ได้รับรางวัล International Karate Open Championship
  • ในปี ค.ศ.1977 ได้รับรางวัล Heavy Weight Championship ใน Kuala Lumpur/Selangor 2nd Chinese Martial Art Championship
  • ในปี ค.ศ.1978 ในการแข่งขันวูซูจีนมาเลย์ครั้งแรกท่านเขาเป็นนักวิ่ง the Heavy Weight runner-up
  • ในปี ค.ศ.1980 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองรุ่น Heavy Weight ในการแข่งขันศิลปะการต่อสู้ชิงแชมป์จีนนานาชาติครั้งที่ 5 ซึ่งจัดโดยสหพันธ์วูซูของจีน มาเลเซียในปีเดียวกัน ท่านเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันชิงแชมป์สมาคมวูซูจีนครั้งที่ 3 และเป็นผู้ชนะอันดับ 1 ในการแข่งขัน the Hong Kong Open Champion of Champions Tournament, Heavyweight Division.
  • ในปี ค.ศ.1985 เป็นผู้ชนะในรายการ Push Hand Champion ในการแข่งขัน สมาพันธ์พันธมิตรวูซูของ KL ในปีเดียวกันอาจารย์จิมมี่เคยเป็นแชมป์ในการแข่งขัน the Champion in the Malaysia – Thailand KickBoxing Championship.
  • ในปี ค.ศ.1986 ถึง ค.ศ.1990 อาจารย์จิมมี่ท้าลงสื่อผู้ฝึกไท่เก๊กทุกคนในมาเลเซียและต่างประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน Push Hand ผู้ท้าชิงที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนไท่เก๊กที่รู้จักกันดี เช่นสไตล์เฉินและหยางมาจากประเทศจีนไต้หวันฮ่องกงสิงคโปร์และที่ฮาวาย อาจารย์จิมมี่ไม่เคยพ่ายแพ้จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามมือปราบไท่เก๊ก (Tai Chi “Subduer /Nemesis” (太极克星)) ในเวลานั้นหนังสือพิมพ์และสื่อยอดนิยมให้ความสนใจติดตามเรื่องราวการพัฒนาของอาจารย์จิมมี่ อาจารย์จิมมี่หยุดสอนในปี
  • ค.ศ.1990 เพื่อประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นปีที่ Sam F.S.Chin ลูกพี่ลูกน้องของอาจารย์จิมมี่ (ลูกชายคนโตของ อาจารย์ Chin Lik Keong ลุงของอาจารย์จิมมี่) อพยพไปยังสหรัฐอเมริกา
  • หลังจากเกษียณในปี 2006 อาจารย์จิมมี่ตัดสินใจที่จะออกมาเผยแพร่ศิลปะอีกครั้งและจัดตั้งสถาบัน Jimmy Heow I Liq Chuan Academy ในประเทศมาเลเซีย I Liq Chuan เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ที่ผ่านมามีผู้คนมาจากต่างประเทศสนใจเพื่อเรียนรู้และเข้าใจ I Liq Chuan เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การมุ่งเน้นและการฝึกสอนของอาจารย์จิมมี่ในตอนนี้คือ “Yi Dao” (意道) มันเป็นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์มากกว่าการใช้ความคิด “Yi” (意), พลังงาน “Hei” (气) และ Power Ging (勁) มันเป็นความเข้าใจของกลไกร่างกายมนุษย์ “Liq Hok” (力学)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานอกจากจะมีการสอนศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมแล้วอาจารย์จิมมี่ยังสอนกีฬา Sanda โดยมุ่งเน้นที่การแข่งขันในศิลปะการต่อสู้ อาจารย์จิมมี่พยายามที่จะส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้และต้อนรับผู้ฝึกผ่านการฝึกที่หลากหลายเพื่อเข้าร่วมและฝึกอบรมกับสถาบันด้วยกันอย่างเปิดเผยในระบบ I Liq Chuan และ “Liq Hok”(力学)

เมื่ออาจารย์จิมมี่เริ่มต้นครั้งแรกการมุ่งเน้นการฝึกอบรมเป็นสไตล์ที่ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีต่อๆ มา ระบบ Fung Yang Xing Yi Quan (凤阳形意拳) และ Ru Yi Bagua (如意八卦) สอนให้ผู้ฝึกไม่ให้โอกาสฝ่ายตรงข้ามเมื่อพวกเขาแตะมือ

“เมื่อสัมผัสแล้วให้เกาะติดกับมือของคู่ต่อสู้ปกป้องเขาอย่างใกล้ชิดหรือออกแรง (ฟาจิง) ทำให้คู่ต่อสู้ตัวปลิวออกไป” การฝึกมือที่เกาะติดหรือหมุนเพื่อความไวและการประยุกต์ใช้ อาจารย์จิมมี่เน้นการทำความเข้าใจกับ “Liq Hok” (力学) การประยุกต์ใช้กำลังอย่างถูกต้องโดยใช้กลไกร่างกายเพื่อควบคุมคู่ต่อสู้

ตอนนี้การฝึกของ I Liq Chuan นั้นขึ้นอยู่กับความไวทางกายภาพและการรับรู้ทางประสาทสัมผัสเพื่อสร้างสัญชาตญาณตามธรรมชาติโดยไม่ต้องนึกถึงเทคนิคใดๆ ในการรับมือกับสถานการณ์เฉพาะ มันเป็นศิลปะของการรวมจิตใจและร่างกายของแต่ละบุคคล มีชุดของการเคลื่อนไหวพื้นฐานและเพียงสองรูปแบบในระบบ I Liq Chuan เพื่อปลูกฝัง “Chi” และเพื่อรักษาสุขภาพ

และแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึง หลังจากผมกลับมาจากกัวลาลัมเปอร์มาเลเซียในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562 อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา อาจารย์จิมมี่ตอบรับคำเชิญมาเยือนหาดใหญ่พร้อมศิษย์ 7 ท่าน ได้แก่ศิษย์พี่เชา, เหลา, เหลียง, กฤษ, WaiYip, เบน และซินเธีย (ออกเสียงชื่อตามเสียงไทย)

วันแรกคือวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562 ผมได้พาทุกคนไปทานอาหารเย็นที่ “ร้านต้าเหยิน” ชื่อร้านเป็นมงคลนามดี “ร้านคนใหญ่” หลังจากทานอาหารเสร็จ ผมพาทั้งคณะไปเยี่ยมชมโรงตีมีดช่างมนูญ ช่างมนูญทำการสาธิตการตีมีดตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนเสร็จ (มีจอมเป็นผู้ช่วย) และมอบมีดที่ทำโดยใส่ด้ามมีดด้วยเขาเลียงผา สวยงาม นับเป็นการทำมีดที่เร็วที่สุดของช่างมนูญในคืนนั้น ขอบคุณช่างมนูญกับงานกะทะร้อน มีดเล่มงามในหนึ่งชั่วยาม

การมาหาดใหญ่ครั้งนี้อาจารย์จิมมี่ตกลงยอมรับผมเป็นศิษย์สายใน ช่วงเช้าวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2562 มีพิธีรับยกน้ำชาโดยมีศิษย์พี่มวย I Liq Chuan ร่วมเป็นสักขีพยาน หลังการยกน้ำชาแล้ว อาจารย์จิมมี่ก็ได้ถ่ายทอดท่ามวยชุดการเคลื่อน 21 ท่า (The 21 Movement Form) ให้ผมได้ฝึกจนจดจำและทำได้ดีแล้วในช่วงบ่ายจากนั้นอาจารย์จิมมี่และศิษย์พี่ได้พักเบรคช่วงบ่ายแก่ๆ และกลับมาที่ยิมเพื่อสอนวิธีใช้ท่าจากท่าชุดรำผมอีกในช่วงหัวค่ำ

เมื่อท่านถ่ายทอดท่ารำพร้อมวิธีใช้ท่าชุด 21 ท่าให้แล้ว ท่านถามผมว่าจะต่อท่ารำต่อไปมั้ย? ผมบอกพอก่อนครับ ขอทบทวนท่ารำแรกให้ชำนาญก่อน แต่ขออนุญาต ถ่ายคลิปท่ารำชุดที่ 2 ไว้ เพื่อเป็นการบ้านเมื่อพบอาจารย์คราวหน้า ค่อยให้อาจารย์ช่วยจัดแต่งท่าและสอนวิธีใช้เพิ่มให้อีก ในเวลาต่อมาผมได้ฝึกท่ารำชุดที่ 2 Butterfly Form รวมถึง Ten Attack และ 9 points จากอาจารย์จิมมี่ เพิ่มอีกด้วย

ผมต้องฝึกมวย I Liq Chuan และค้นคว้าจนสามารถนำมาหล่อหลอมให้เข้ากับทักษะที่มีอยู่ภายในตัวผมให้เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน ขอบคุณอาจารย์จิมมี่และศิษย์พี่ทุกคน ที่ไว้ใจให้ผมได้เป็นผู้สืบทอดมวย I Liq Chuan เป็นคนแรกในประเทศไทย

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลานไฉ่เหอ (藍采和; แต้จิ๋ว: น่าไชหัว, ฮกเกี้ยน: หน่าไฉฮัม) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนผู้เ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หานเซียงจื่อ (韓湘子; ฮกเกี้ยน: ฮั้นเจียวจู้) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนแห่งลัทธิเต๋า ผู้ม...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลี่เถียไกว่ (李鐵拐; กวางตุ้ง: เหล่ยทิดกวาย, แต้จิ๋ว: ลี้ทิก๋วย, ฮกเกี้ยน: ลี่ทิกุย) หรือที่รู้จักในชื...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เหอเซียนกู (何仙姑; แต้จิ๋ว: ฮ่อเซียนโกว, ฮกเกี้ยน: เฮอเซียนก๊อ) หรือที่รู้จักในชื่อ “นางฟ้าเหอ&#...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ลฺหวี่ ต้งปิน (呂洞賓; แต้จิ๋ว: ลือท่งปิน, ฮกเกี้ยน: ลีตงปิ่น) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนใ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
จงหลีเฉฺวียน (鐘离權; กวางตุ้ง: จงสิดขือ, ฮกเกี้ยน: เจี๋ยงตีควน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซีย...