Taifudo Academy

บทที่ 21 สำนักดาบศรีไตรรัตน์

บทที่ 21 สำนักดาบศรีไตรรัตน์
taifudo book21 (Web V)

กีฬาดาบไทย หรือ ฟันดาบไทย เป็นกีฬาไทยที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย โดยสืบเนื่องมาจากการเล่นกีฬากระบี่ – กระบอง อันเป็นมรดก เอกลักษณ์ประจำชาติไทย มาแต่บรร”พบุรุษ ซึ่ง เป็นส่วนสาคัญที่ทำให้ผืนแผ่นดินไทยได้คงความเป็นเอกราชมาแต่อดีต จากการสู้รบด้วยอาวุธ ต่างๆ เช่น มีด, ดาบ, ง้าว, หอก, โล่ ฯลฯ ของบรรพบุรุษในอดีตในปัจจุบันได้ประยุกต์มาเป็นการแสดง หรือ ประกวด กีฬากระบี่ – กระบอง ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นจนถึงทุกวันนี้กระบี่กระบอง เป็นกีฬา การแสดงสาธิต และการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธโบราณของไทย โดยทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะ หนังสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยอาวุธทั้งแบบสั้นและแบบยาว เช่น ดาบ, หอก, ง้าว, กระบี่, พลอง นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันตัว อันได้แก่ ดั้ง, เขน, โล่, ไม้ศอกสั้นกีฬาดาบไทย กำเนิดจากสำนักดาบศรีไตรรัตน์โดยการนำของนาวาตรีจรูญ ไตรรัตน์มาตั้ง แต่ปีพุทธศักราช 2478 ได้นำกีฬากระบี่กระบอง มาประยุกต์พัฒนาเป็นกีฬาดาบไทย ได้คิดค้นด้วยเหตุผลให้เป็นการต่อสู้ที่ใช้สถานการณ์จริง ไม่ใช่การแสดงหรือประกวดและตั้งกฎกติกา การแข่งขันขึ้นมาเป็นกีฬาแข่งขันประเภทกีฬาอนุรักษ์

หัวข้อ

กีฬาดาบไทยได้เผยแพร่ โดยนาวาตรีจรูญ ไตรรัตน์ ที่โรงเรียนนายเรือเป็นแห่งแรกต่อมาในปีพุทธศักราช 2480 โดย นายโสภณ อุตตโมบล ผู้ก่อตั้ง ชมรมกระบี่-กระบองคนแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เรียนเชิญนาวาตรีจรูญ ไตรรัตน์ ไปสอนกีฬาดาบไทย ให้นิสิต นักศึกษาเป็นครั้งแรกเนื่องจากเห็นว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญกีฬาด้านนี้ต่อมาเริ่มมีการจัดการแข่งขันภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นแห่งแรก หลังจากจัดการแข่งขันได้รับความสนใจจากนิสิต นักศึกษามากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นกีฬาต่อสู้ เล่นได้ทั้งชายและหญิง ดังนั้นกีฬานี้ได้แพร่หลายไปตามคณะต่างๆ และในที่สุดชมรมต่อสู้ป้องกันตัวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดการแข่งขันติดต่อกันมาทุกปีโดยยกย่องและชื่นชอบ ผู้ที่ชนะเลิศเป็นตาแหน่ง “ขุนพลจุฬาฯ” มีอุดมคติว่า “หยาดเหงื่อ หยดเลือด และรอยหวาย” สุดท้ายของการจัดการแข่งขัน คือ “ความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวซึ่งกันและกันของนักกีฬา”

ด้วยเหตุนี้ อีกหลายสถาบันการศึกษา ได้สนใจกีฬาชนิดนี้มากหลายแหล่ง เช่น มหาวิทยาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ศิริราช (มหาวิทยาลัยมหิดล ) เป็นต้น ต่อมาได้มีท่านอาจารย์ทองหล่อ ไตรรัตน์ ของสำนักดาบศรีไตรรัตน์ และท่านอาจารย์นิพนธ์ ศรีวิจิตร ผู้สร้างชมรมต่อสู้ป้องตัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพัฒนาการแข่งขันกีฬาดาบไทยได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในวงกว้าง

ในปัจจุบันสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ผลักดันพัฒนากีฬาดาบไทย ให้เป็นมาตรฐานสากล และสามารถจัดเป็นกีฬาอนุรักษ์ประชาชาติไทย เหมือนกับกีฬาทั่วๆ ไป โดยมีหน่วยงานต่างๆ ให้การช่วยเหลือ เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครกรมพลศึกษาคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท) สถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน ฯลฯ

ครูทองหล่อ ไตรรัตน์ (28 พฤศจิกายน พ.ศ.2463 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2550) สมรสกับนางวัฒนา ไตรรัตน์ และมีบุตรธิดารวม 4 คน ครูทองหล่อ ไตรรัตน์ เกิดที่เขตบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 ของนาวาตรีจรูญ ไตรรัตน์ (ผู้ก่อตั้งสำนักดาบศรีไตรรัตน์) และนางทองอยู่ไตรรัตน์

ครูทองหล่อเป็นผู้ฝึกสอนกระบี่กระบองแห่งสำนักดาบศรีไตรรัตน์และเป็นประธานฝ่ายเทคนิค ของสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

ครูทองหล่อได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรช่างยนต์จากประเทศญี่ปุ่นและใน พ.ศ.2490 เขาได้ทำงานที่บริษัท อาทรพาณิชย์ ในตำแหน่งหัวหน้างานฝ่ายช่างยนต์จนเกษียณอายุใน พ.ศ.2529

ครูทองหล่อเป็นผู้เผยแพร่ทั้งกีฬาฟันดาบไทยของประเทศไทยและสปอร์ตจัมบาระจากประเทศญี่ปุ่นรวมถึงเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาฟันดาบสากลโอลิมปิกทีมชาติไทย

ครูทองหล่อ ไตรรัตน์ ยังเป็นผู้ฝึกสอนกระบี่กระบองให่แก่วาเลรีโอ ซาดรา ผู้ซึ่งทำการเผยแพร่ต่ออย่างกว้างขวางในประเทศอิตาลี

ครูทองหล่อเคยแนะนำการฟันดาบให้แก่นักกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระยะ กับจังหวะ มากกว่าความเร็ว รวมถึงหาก ยึดติดกับวัตถุ ต้องการพึ่งแต่ดาบที่ดีจนเกินไป ก็อาจทำให้ละเลยต่อการพัฒนาตน

ครูทองหล่อ เปิดสอนกระบี่กระบอง ฟันดาบไทย ศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว ดาบแข่งขันและดาบสากลให้เด็กๆ สอนให้รู้จักป้องกันตัวเองและต่อสู้กับคนร้ายได้ เริ่มตั้ง แต่ ย่างสามขุม เพื่อฝึกฐานให้มั่นคง จากนั้น หัดรับหัดตี ต่อมา หัดรำ ซึ่งเป็นท่าไหว้ครู ได้แล้วก็เข้าท่าหรือเรียกว่า หัดแอคชั่น แล้วก็ใส่ลูกเล่นที่คิดค้นเข้าไปเพื่อใช้ในการแสดงและแข่งขัน ที่ทำอย่างนี้เพราะอยากอนุรักษ์และพัฒนากระบี่กระบองของไทยไว้และเพื่อให้ไปสู่สากล

ครูอำนาจโทรมาหาผมและบอกให้ผมเดินทางจากหาดใหญ่ขึ้นมากรุงเทพฯด่วน (พลตรีอำนาจ พุกศรีสุข ผู้ก่อตั้งมวยไทยนวรัช มวยนวรัชคือมวยไทยที่สังเคราะห์จากมวยโคราช โดยใช้เคล็ดจากมวยไทยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยโบราณสายต่างๆ โดยมีแกนหลักเป็นมวยโคราช) ครูอำนาจจะให้ผมมาพบกับครูจ้อน แห่งสำนักดาบศรีไตรรัตน์ ผมทราบเพียงคร่าวๆ ว่าครูจ้อนเป็นลูกชายของครูทองหล่อ ศรีไตรรัตน์ ครูจ้อนอยู่ที่อเมริกาและตอนนี้เป็นช่วงที่กลับมาเยี่ยมบ้านที่เมืองไทย

เช้าวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2558 ผมไปพบครูอำนาจที่สำนักดาบศรีไตรรัตน์ ตามที่ได้นัดไว้ ครูอำนาจนัดผมและศิษย์มวยนวรัชของครูอำนาจอีกหลายคนไปด้วยเพื่อขอให้ครูจ้อนถ่ายทอดวิชาให้ ก่อนจะฝึกผมอยากได้พวงมาลัยเพื่อให้ทุกคนไหว้ครูจ้อนก่อน ผมให้เงินกับน้องที่อาสาออกไปซื้อ เมื่อมอบพวงมาลัยไหว้ครูจ้อนเสร็จแล้ว ครูจ้อนก็ถ่ายทอดท่ามวยให้ พร้อมทั้ง พูดคุยถึงดาบและสาธิตการรำ ท่าใช้ดาบเดี่ยว ดาบสองมือ จากนั้นทุกคนก็ซ้อมท่าที่ครูสอนไว้ให้ ผมไม่ได้สนทนากับครูจ้อนมากนัก เพียงแต่ครูจ้อนเห็นว่าผมจำท่ามวยได้เป็นอย่างดีจึงให้ผมนำฝึกจนกระทั่งเที่ยง จึงหยุดฝึกเพื่อทานข้าวกัน เราทานข้าวที่ทางครูจ้อนเตรียมไว้ต้อนรับ ผมรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของท่าน แต่ก็มีความกังวลที่มารบกวนท่าน ด้วยความเร่งรีบเดินทางจึงไม่มีเวลาจัดหาอะไรติดไม้ติดมือมาฝากครูเลย มาเอาวิชาแล้วยังได้ทานอาหารฟรีอีก เมื่อทานอาหารเสร็จผมจึงเข้าไปคุยกับแม่ของครูจ้อนซึ่งนั่งอยู่บนเรือนใกล้กับโต๊ะที่ทานข้าว ท่านชราแล้วแต่ยังดูแข็งแรง ช่วงบ่ายฝึกกันต่อจนใกล้เย็นมีคนขอตัวทยอยกันลากลับ ส่วนผมเมื่อเห็นว่าได้เวลาสมควรแล้ว ก่อนกล่าวลาครูจ้อนและแม่ครู ผมยื่นซองที่เตรียมปัจจัยส่วนตัวมอบให้แม่ครู ครูจ้อนแสดงอาการทางสีหน้าเล็กน้อยเหมือนไม่พอใจ ก่อนบอกว่าไม่ขอรับไว้ ครูจ้อนบอกว่าท่านตั้งใจถ่ายทอดให้โดยไม่คิดหรือหวังค่าตอบแทน ผมจึงตอบไปว่าผมอยากมอบไว้เป็นค่าบูชาครู เป็นสิ่งที่ศิษย์พึงกระทำขอให้ท่านทั้ง 2 รับไว้ ครูจ้อนฟังก็มีสีหน้าเป็นปกติขึ้นเข้าใจในเจตนาผม แต่ครูจ้อนก็ยืนยันไม่รับจากนั้นท่านดูผ่อนคลายและพูดคุยกับผมอีกหลายๆ เรื่อง ส่วนผมเมื่อเสร็จจากการมาพบครูอำนาจและครูจ้อนแล้ว ผมก็เดินทางกลับหาดใหญ่

ขอขอบคุณครูอำนาจผู้ให้โอกาสเหล่าศิษย์ได้มาศึกษาเพิ่มเติมยังสำนักดาบศรีไตรรัตน์ที่มีอายุการก่อตั้งกว่า 80 ปี อาจารย์ทองหล่อ ไตรรัตน์ควรค่าแห่งการยกย่องว่าเป็น บรมครูแห่งดาบไทย

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลานไฉ่เหอ (藍采和; แต้จิ๋ว: น่าไชหัว, ฮกเกี้ยน: หน่าไฉฮัม) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนผู้เ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หานเซียงจื่อ (韓湘子; ฮกเกี้ยน: ฮั้นเจียวจู้) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนแห่งลัทธิเต๋า ผู้ม...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลี่เถียไกว่ (李鐵拐; กวางตุ้ง: เหล่ยทิดกวาย, แต้จิ๋ว: ลี้ทิก๋วย, ฮกเกี้ยน: ลี่ทิกุย) หรือที่รู้จักในชื...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เหอเซียนกู (何仙姑; แต้จิ๋ว: ฮ่อเซียนโกว, ฮกเกี้ยน: เฮอเซียนก๊อ) หรือที่รู้จักในชื่อ “นางฟ้าเหอ&#...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ลฺหวี่ ต้งปิน (呂洞賓; แต้จิ๋ว: ลือท่งปิน, ฮกเกี้ยน: ลีตงปิ่น) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนใ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
จงหลีเฉฺวียน (鐘离權; กวางตุ้ง: จงสิดขือ, ฮกเกี้ยน: เจี๋ยงตีควน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซีย...