Taifudo Academy

ตำนานแหวนพิรอด เรื่องเล่าขานแห่งมนต์ขลัง

ตำนานแหวนพิรอด เรื่องเล่าขานแห่งมนต์ขลัง
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องรางของขลังที่คนโบราณนิยมกันว่าเป็นมงคลอีกอย่างหนึ่งก็คือ “แหวนพิรอด” ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติหรือสิ้นชาติที่หมายถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆ ไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุค ไอ.ที. ( I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้

แหวนพิรอดมี 2 ชนิด

ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด” (ชนิดนี้บางทีทำด้วยโลหะผสมก็มี ตรงหัวทำเป็นเหมือนหัวแหวนพิรอด) ซึ่งสนับแขนนี้เดิมยังใช้เป็นอาวุธของนักมวยในการกอดปลํ้าที่เข้าวงในเพราะแหวนแขนที่ทำจากด้ายดิบหากลงรักจะแข็ง และคมซึ่งใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บ และไม่อยากเข้าต่อสู้ด้วยการกอดปลํ้าเป็นการจำกัดรูปมวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าพาให้เขาเข้าทางมวยฝ่ายเราซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทยแต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่องรางอย่างหนึ่งเท่านั้น

วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด

วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอดเมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้นแหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วงวัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา มีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ที่สร้างแหวนพิรอดที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ประสบพบเห็นโดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้นำแหวนพิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จ ได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า “เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี” ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะเป็นเกจิอาจารย์ของเมืองกรุงเก่า (อยุธยา) แหวนพิรอดเดิมทีนั้น ใช้วัสดุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตามวิถีชีวิตคนในสมัยนั้นคือมักทำด้วยกระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น

ลงยันต์แหวนพิรอด

เมื่อจะต้องทำลงยันต์แหวนพิรอดในกระดาษยันต์นี้ ประกอบด้วยรูปพระภควัมหรือเลขยันต์ตามแต่พระเกจิอาจารย์แต่ละสายจะกำหนดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นว่าเป็นกลเม็ดเด็ดพรายตามแต่สำนักใดจะสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องรางแหวนพิรอดที่สร้างขึ้นว่ามีอิทธิคุณถึงขั้นหรือยังคือเมื่อทำแล้วให้ทดลองเอาไฟเผาดู ถ้าไม่ไหม้ก็ใช้ได้ พระอาจารย์ผู้สร้างจึงจะนำมาตกแต่งเพื่อความมั่นคงทนทานและสวยงาม อันแหวนพิรอดนั้นโดยมากมักจะลงรักเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แหวนผุง่ายไม่คงทน

ลอร์ดออฟเดอะริงค์ อย่างไทยๆ เรา

ในตำราไสยศาสตร์นั้นยังระบุอธิบายวิธีใช้ไว้ว่า ถ้าจะเข้าสู้รบทำสงครามให้ถือแหวนกระดาษนี้แล้วบริกรรมด้วย “มะอะอุฯ” และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา “โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ” ว่ากันว่าไม่แต่เพียงศึกมนุษย์ถึงศึกเทวดามาก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งคงเป็นแบบเรื่องราวของ “ลอร์ดออฟเดอะริงค์” อย่างไทยๆ เรา

ความเป็นมาของเงื่อน

เคยได้ยินคนรุ่นเก่าเล่ากันว่า แหวนหลวงพิรอด เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะลากเข้าความกันมากกว่า เท่าที่อ่านพบจากการสันนิษฐานของนักปราชญ์ชาว ตะวันตก (อิตาลี) ที่เข้ามารับราชการจนเป็นถึงเจ้ากรมยุทธศึกษาของกองทัพบกไทยคนแรกในการทหารยุคใหม่คือ ยี. อี.เยรินี (พันเอกพระสารขันธ์) กล่าวว่า ชื่อ “พิรอด” มาจากภาษสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง ตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือนกัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น

คาถาอาคม ที่ใช้กับเงื่อน ขอเกจิอาจารย์ต่างๆ

เงื่อนพิรอดนั้นจัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อ ความมั่นคง แน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้าน

มหานิยมก็เข้มขลังขนาดอมตะดาราอย่าง คุณ มิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า “พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มี คาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่างเชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด “พิรอดเดี่ยว” เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่าๆเช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จ.ชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆราวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่านํ้าวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี

(ความรู้เพิ่มเติมเรื่องเงื่อนศักดิ์สิทธิ์นี้อ่านที่คอลัมมายิกไท-เทศ;อุณมิลิตเล่มที่ 10-11)

คาถาโองการมหาทมื่นของหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง

โอม นะ โม พุท ธา ยะ กูจะกล่าวกำเนิดเกิดพระมหาทมื่น กูจะโยนตัว กูขึ้นไปเป็นกงไม้ไร่ ก็หักแหลกลงเป็นผุยผงทั่วทั้งเมืองสกลชมพู กูจะรำลึกถึงครูกูใครจะสู้กูก็บ่มิได้ ครูกูจึงให้กูเล่าพระคาถาพุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสะระณังคัจฉามิ ภะคะวาไชยมังคะลัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะวันทานัง ปาสุอุชา อิสะปะมิ พุทธสังมิ อิสวาสุ นะมะอะอุ อิกะวิติ วิสุทธิเสฐโฐ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อะระหังสุคะโตภะคะวา สังวิธาปุกะยะปะ อาปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ ทุสะมะนิ สะธะวิปิปะสะอุ ทุสะนะโส จิเจรุนิ ตันนิพพุทติง นะมะนะอะ นอกอนะกะ กออนออะ นะอะกะอัง ตัถถะนะถะ อุมะอะยัง จิปิเสคิ คิเสปิจิ กันหะเนหะ นิระมหาสะตัง จะภะกะสะ นะมะพะทะ กะระมะถะ จะอะภะคะ นะมะกะยะ สุสิโมพุทโธภะคะวา สุสิโมธัมโมภะคะวา สุสิโมสังโฆภะคะวา โลกะนาโถมหิทธิโก นาสังสิโม ยะถาพะลังจังงังเหยหาย เดชะครูปัทธิยายจึงให้เป็นกำแพง เพชรทั้ง 7 ชั้นกันตนกู คือ พระวิภังค์พระสังฆณีพระปรมัตถะอัตถาจาริย์เจ้าจึงให้คงแก่หอกดาบแหลนหลาว ธนูง้าวทั้งหน้าไม้ปืนไฟอย่าได้ต้องตนกู เพชชะคงแก่ หอกเหล็ก หอกหล่อ หอกข้อเงิน หอกข้อทอง หอกสำริดกริชทองแดงคงแก่แสงฟ้าผ่า คงทั้งข้างซ้าย คงทั้งข้างขวา คงทั้งข้างหน้า คงทั้งข้างหลัง คงทั้งนั่งคงทั้งยืน คงทั้งหลับ คงทั้งตื่น คงทั้งกลางคืน คงทั้งกลางวันตรีเพชชะคง คงสวาหะ โอมเอิกเกริกไตรภพตลบบาดาลเหาะทะยานบนอากาศหมู่อสูรขยาดมืดมัวกลัวกูอยู่ระย่อฤาษีเล่นซุกซ้อนนอนหลับอยู่กลางป่าทั้ง ขโมดมารยาเหาะทะยานมา ช่วยกูหนุมานหลานพระไวยบุตรสัปปะยุทธ ด้วยอินทรชิตประสิทธิสรรพางค์ล้างมารมัดตนได้ เอาไปถวายแก่ราพย์เจ้ากรุงลงกาหมู่อสูรยักษาจะฆ่ากูก็บ่มิตาย ด้วยเดชะพระนารายณ์ จุติลงมาบังเกิดนะโมพุทธายะ ตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา เกศาผม อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา โลมาขนอยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา นะขาเล็บ อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา ทันตาฟัน อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา ตะโจหนัง อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา มังสังเนื้อ อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวานหารูเอ็น อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ อิติปิโสภะคะวา อัตถิกระดูก อยู่ทั่วในกายตนกูคงตรีเพชชะคงๆ คงด้วยนะโมพุทธายะ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา บิดารักษา มารดารักษา พระอินทรักษา พระพรหมรักษา ครูบาอาจารย์รักษา อิมังกายะพันธะนังอะธิฏฐามิ

บทอาราธนาคำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

พุทธัง ชีวิตัง อายุวัฑฒะนัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง ชีวิตัง อายุวัฑฒะนัง ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง ชีวิตัง อายุวัฑฒะนัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญํูหีติ

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทสวดเรียกอาคม

อิติอักขรา นามะโหนะติ เอหิพันธัง พันธัง นะโมพุทธายะ นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึง อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิมัง กายะพันธะนัง อะทิถามิ

การตั้งธาตุ

เอหิปฐวีพรหมา เอหิอาโปอินทรา เอปิเตโชนารายะ เอหิวาโยอิสรา

คาถาตั้งแม่ธาตุ

นะอิเพชรคง อะระหังสุคะโตภะคะวา โมติพุทธะสัง อะระหังสุคะโตภะคะวา
พุทปิอิสวาสุ อะระหังสุคะโตภะคะวาธาโสมะอะอุ อะระหังสุคะโตภะคะวา
ยะภะอุอะมะ อะระหังสุคะโตภะคะวา

เดินธาตุ

นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะกะสะ นะมะอะอุ
นะโมพุทธายะ มะพะธะนะ ภะกะสะจะ มะะอะอุนะ
นะโมพุทธายะ พะธะนะมะ กะสะจะภะ อะอุนะมะ
นะโมพุทธายะ ธะนะมะพะ สะจะภะกะ อุนะมะอะ

หนุนธาตุ

นะมะมะนะ นะอะอะนะ นะอุอุนะ
มะนะนะมะ มะอะอะมะ มะอุอุมะ
อะนะนะอะ อะมะมะอะ อะอุอุอะ
อุนะนะอุ อุมะมะอุ อุอะอะอุ

ต่อด้วยบทพระคาถาต่างๆ ที่กำกับในตะกรุดแต่ละชนิด

แหล่งอ้างอิง

  • (ความรู้เพิ่มเติมเรื่องเงื่อนศักดิ์สิทธิ์นี้อ่านที่คอลัมมายิกไท-เทศ;อุณมิลิตเล่มที่ 10-11)

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลานไฉ่เหอ (藍采和; แต้จิ๋ว: น่าไชหัว, ฮกเกี้ยน: หน่าไฉฮัม) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนผู้เ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หานเซียงจื่อ (韓湘子; ฮกเกี้ยน: ฮั้นเจียวจู้) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนแห่งลัทธิเต๋า ผู้ม...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลี่เถียไกว่ (李鐵拐; กวางตุ้ง: เหล่ยทิดกวาย, แต้จิ๋ว: ลี้ทิก๋วย, ฮกเกี้ยน: ลี่ทิกุย) หรือที่รู้จักในชื...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เหอเซียนกู (何仙姑; แต้จิ๋ว: ฮ่อเซียนโกว, ฮกเกี้ยน: เฮอเซียนก๊อ) หรือที่รู้จักในชื่อ “นางฟ้าเหอ&#...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ลฺหวี่ ต้งปิน (呂洞賓; แต้จิ๋ว: ลือท่งปิน, ฮกเกี้ยน: ลีตงปิ่น) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนใ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
จงหลีเฉฺวียน (鐘离權; กวางตุ้ง: จงสิดขือ, ฮกเกี้ยน: เจี๋ยงตีควน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซีย...