ในช่วงปี พ.ศ.2543 ผมได้นิมิตเห็นการรบอยู่เบื้องล่าง ซึ่งผมเฝ้ามองมาจากที่สูง ในนิมิตหน้าที่ของพวกผมคือเฝ้าดูทัพหลวงซึ่งกำลังรบอยู่หากเกิดเพลี่ยงพล้ำ เหล่าทหารนักรบที่ซุ่มอยู่อยู่โดยรอบจะลงไปช่วยเหลือเพื่อให้ทัพหลวงถอยร่นและพร้อมจัดเตรียมประกระบวนทัพได้ใหม่และมีหน้าที่อีกหลายอย่างที่ต้องให้นักรบพลพยัคฆ์ต้องทำ
พลพยัคฆ์ ไม่ใช่มีเพียงกลุ่มเดียวแต่มีอยู่หลายกลุ่มปะปนอยู่ตามชุมชน,ในเมืองและตามป่ามีทั้งขุนนาง เหล่าทหารที่ไม่ได้อยู่ราชการแล้ว แต่ยังคงต้องการช่วยเหลือแผ่นดินก็ออกมาตั้งกลุ่มอยู่โดยรอบ คอยให้ความช่วยเหลือ และชาวบ้านที่เข้าร่วมที่ต่างๆ
หน้าที่ที่ทำ เช่น คอยตีประ, รบกวนการเดินทัพของฝ่ายตรงข้ามทำสิ่งขีดขว้างให้ทัพล่าช้า, ลอบซุ่มโจมตี, ทำลายขวัญข้าศึก, คอยเผาเสบียง, ขโมยเสบียง, ลอบหาข่าวหาเส้นทางประสานกับกลุ่มรอบนอกต่างๆ คอยให้ความช่วยเหลือทัพหลวงและทัพอื่นๆ ที่ทำการรบหากเกิดพลาดพลั้งคอยสกัด และถ่วงเวลาการเดินทัพ, การส่งข่าวสาร
ในแต่ละกองมีจำนวนคนแตกต่างกันแต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 500 คน เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนพล, ย้ายแหล่งหลบซ่อนตัว ในหนึ่งกองจะมีผู้มีความชำนาญที่แตกต่างกัน อาทิ หมอยา หมอโหรา หมออาคม (อาจเป็นพระ) ได้ใช้ในการให้กำลังใจ บำรุงขวัญนักสู้ทั้งหลาย พรานป่า พรานทางน้ำและอื่นๆกองอาษา แต่ละกองอาจจะไม่ได้ติดต่อกับทางราชการโดยตรงทุกกอง บางกองก็หาข่าวเองถึงความเคลื่อนไหวของกองทัพหลวง เวลาจะออกทัพบางกองที่เคยเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ก็มักจะช่วยประสานงานกับเพื่อนที่เป็นขุนนางอยู่ในราชสำนัก คอยส่งข่าวสารให้
ศาสตร์กองอาษาพลพยัคฆ์ ผมได้แบ่งเป็น 4 หมวด
- การต่อสู้ด้วยมือเปล่า
- วิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธ
- วิธีการกลศึก
- วิธีการบำรุงขวัญ, สร้างขวัญ และกำลังใจ
จากการนิมิตของผมให้ช่วงนั้น ได้เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้ผมค้นคว้าเรื่องราวและไปในสถานที่ที่ผมนิมิต ถือเป็นสัญญาณสุดท้ายของความทรงจำจากอดีตที่ผมยังจำได้ จากสิ่งที่ผมดูจากข้างบนเป็นการวางทัพบ้าง การรบบ้าง ในนิมิตได้ยินเสียงแว่ว เหล่าอาษาพลพยัคฆ์เตรียม และในนิมิต ผมได้ภาวนาบทพระคาถาชุดหนึ่งคือ “อิติชะนะโตโนพุทสิทอังปิติอิ” มันดังก้องอยู่ในโสตประสาท จนผมรู้สึกตัวก็ยังติดอยู่ในใจ หลังจากครั้งนั้นผมได้ค้นคว้าและมีโอกาสได้รับตำราพิชัยสงคราม ฉบับรวมรวม ร.1 จากครูอำนาจ พุกศรีสุข มาเล่มหนึ่ง หลังจากครั้งนั้นผมพบอาษาพลพยัคฆ์ อยู่ในกลศึกที่๑๒ โดยกล่าวว่า “กลศึกอันหนึ่งชื่อว่าผลาญศัตรู ข้าศึกดูองอาจ บอกพลาดราษฎรกระทำนำพลพยัคฆ์ประเมือง พลนองเนืองแสนเต้า แจกเหล้าข้าวชาวเรา เอาอาวุธจงมาก ลากปืนพิษพาดไว้ ขึ้นหน้าไม้ธนู กรูปืนไฟจุกช่องส่องจกแม่นอย่าคลา ชักสาระพาบรรทุก อย่าอุกรุกคอยฟัง อย่าประนังตนเด็ด เล็ดเล็งดูที่มั่น กันที่พลจงคง คนหนึ่งจงอย่าฉุก ปลุกใจให้คนหื่น ให้ชื่นในสงคราม ฟังความสั่งสำคัญ ฆ้องกลองพรรณแตรสังข์ ประนังโรมรันรุม เอาจุมพลดาศึก พิฦกคะเปนนาย ครั้นถูกระจายพ่ายพัง พลเสริดสั่งฤาอยู่ บ่เป็นหมู่เป็นการ โดยสารโศลกดั่งนี้ ชื่อว่าผลาญศัตรู” (ตำราพิชัยสงครามฉบับราชการที่ 1 หน้า 100 วรรคต้น) ซึ่งได้บันทึกกองอาษาพลพยัคฆ์นี้ จึงน่าจะมีกองอาษานี้จริงในยุคก่อนหน้านี้
จากนั้นผมก็ค้นคว้าบทภาวนาที่ได้ยินในนิมิต จึงได้สร้างเป็นศาสตร์พลพยัคฆ์ โดยในงานไหว้ครูปี พ.ศ.2551 ผมได้มีโอกาสทำงานด้านการแสดงภาพยนตร์กับบริษัทไอยราฟิล์มรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าตัวที่แสดง ผมได้นำมาจัดสร้างเหรียญองค์สมเด็จพระนเรศวร จำนวน 5,000 เหรียญ เป็นเหรียญทองแดงนอกโดยได้มอบเหรียญจำนวน 1,000 เหรียญ ฝากครูส่างคำ จางยอด ให้ช่วยนำไปให้นักรบไทยใหญ่ โดยมีผู้นำคือเจ้ายอดศึก (ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS))
และในปี พ.ศ.2556 นี้ ผมได้จัดสร้างเหรียญองค์สมเด็จพระนเรศวร เป็นเหรียญเนื้อตะกั่ว ขึ้นอีก จำนวน 1,500 เหรียญ
รายละเอียดในเหรียญประกอบด้วย ดังนี้
ด้านหน้าเหรียญ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งน้ำษิโณทก
- อุณาโลม ด้านข้างมีอักขระว่า “อิติ”
- รอบองค์พระนเรศวรมีอักขระที่มุม “นะ มะ พะ ทะ”
- ใต้ฐานสมเด็จพระนเรศวรเป็นดาวนพเคราะห์ ทั้ง 9 เลข 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ปิดด้วยอุณาโลมต้นปลายส่วนล่างของเหรียญเขียนว่า “โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ”
ด้านหลังเหรียญ
ส่วนต้นของเหรียญเขียนบทภาวนา “อิ ติ ชะ นะ โต โน พุท สิ อัง ปิ ติ อิ”
- ตรงกลางเป็นรูปเสือคาบดาบ (พยัคฆ์คาบดาบ)
- ตรงหน้าผากเสือเป็นอณุโลม
- ส่วนด้านข้างก็เป็นอณุโลมเหมือนกัน
- ใต้หน้าเสือเขียนว่า “กองอาษาพลพยัคฆ์”
- ตรงริบบิ้นหัวท้ายจะเป็นอักขระ “ชะ นะ”
- ส่วนล่างของเหรียญเขียนว่า รุ่น 1 พ.ศ.2551
เสริมใช้ยุทธวิธีกองโจร ออกเที่ยวตระเวนทำลายข้าศึกที่ส่งกำลังลาดตระเวน, หาข่าว, หาเสบียงอาหาร และยังคอยแย่งชิงช้างม้าพาหนะ จนข้าศึกไม่กล้านำออกมาเลี้ยงไกลที่ตั้งค่าย หากข้าศึกส่งกำลังมามากก็จะพากันหลบซ่อนด้วยความชำนาญภูมิประเทศ หากข้าศึกไม่ระมัดระวังก็จะคอยหาโอกาสเข้าโจมตีฉกฉวย และจู่โจมไม่ให้ทันรู้ตัวการรบของกองทัพไทยด้วยยุทธวิธีเช่นนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสงครามที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงใช้พลอาษารบเคลื่อนที่เร็วโดยกำลังส่วนน้อย (จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ผู้เขียน พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ หน้าที่ 720 วรรคสุดท้าย)
ต่อมาคืนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2129 สมเด็จพระนเรศวรเสด็จนำทหารออกโจมตีกองหน้าของพระเจ้าหงสาวดีโดยที่พม่าไม่รู้ตัวจนหนีแตกกระจาย พระองค์ทรงนำกำลังที่เข้าค่ายได้ไล่ล่าฆ่าข้าศึกจนเข้าไปถึงค่ายใหญ่ของพระเจ้าหงสาวดีสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงจากหลังม้า ทรงคาบพระแสงดาบคู่พระทัย (พระแสงดาบคาบค่าย) นำทหารอาษารบขึ้นปีนเพนียดอย่างไม่เกรงอันตรายโดยมุ่งหวังที่จะเข้าค่ายให้จงได้ (จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ผู้เขียน พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ หน้าที่ 728 วรรค 2) เป็นเหตุให้นำรูปเสือคาบดาบสัญลักษณ์แทนองค์ที่แสดงความกล้าหาญ
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวร จะเห็นว่าพระองค์ทรงเสด็จนำทัพด้วยพระองค์เองทุกครั้ง และมีความเด็ดขาดในการรบแม้ว่าบางครั้ง พระองค์จะกล้าหาญมิหวั่นเกรงอันตรายก็ตามแต่ด้วยความเชื่อมั่นในการรบ และการใช้อาวุธสู้รบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นพระแสงปืนต้น พระแสงคาบค่าย พระแสงทวน และพระแสงของ้าว
ยุทธศาสตร์ใหม่ของกองพลอาษารบก็คือ หัวใจชาวสยามที่รวมพลังกันต่อสู้กู้ชาติ และปฏิบัติการรบแบบกองโจรที่พระองค์จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การ ทหารไทย (จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ผู้เขียนพลาดิศัย สิทธิธัญกิจหน้า 730 วรรค 3)
กองอาษารบจึงถูกจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษโดยพระองค์ ทรงคัดเลือกชายหนุ่มรุ่นเดียว กับพระองค์จากบรรดาลูกหลานทหารหาญเข้ามาทำการฝึกฝนเป็นกองกำลังพิเศษ ได้ฝึกยุทธวิธีการรบกับข้าศึก โดยใช้กำลังส่วนน้อยเข้าต่อสู้กับกำลังส่วนใหญ่ และฝึกฝนให้มีความชำนาญภูมิประเทศ โดยเฉพาะพระองค์ทรงวางยุทธวิธีรบขึ้นใหม่เพื่อปรับให้เหมาะ สมกับสถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยา ในยามที่ผู้คนเหลืออยู่น้อย และแตกกระจัดกระจายไม่เป็นกำลังรบส่วนใหญ่ พระองค์ทรงใช้กำลังส่วนน้อยทำการรบแบบกองโจร ก่อกวนข้าศึกในแนวหลัง และหาโอกาสเข้าปฏิบัติการกับข้าศึกก่อนเพื่อสร้างปัญหา และกระแสกดดันในการสู้รบส่วนการตั้งแนวรบพระองค์แบ่งการคุมกำลังสู้รบในแนวรบด้านหน้า และด้านหลังขึ้นเป็นครั้งแรกหากข้าศึกมีกำลังเป็นจำนวนมาก ก็จะใช้กองกำลังพลอาษาแยกย้ายกันเดินทางเส้นทางในการรบไม่ให้ข้าศึกตั้งตัวได้ในการรบนั้นให้ใช้กองกำลังออกไปยับยั้ง และสู้รบกับข้าศึกตั้งแต่เข้ามาในเขตแดนไทย ไม่ให้ตั้งรับในกรุงศรีอยุธยาอย่างแต่ก่อนพระองค์ทรงแก้ปัญหาการขาดเสบียงอาหารบำรุงกองทัพ โดยจัดตั้งหน่วยเตรียม และจัดหาเสบียงอาหารล่วงหน้าให้มีนายทัพ นายกอง คอยควบคุมกำลังทางบก และกองเรือ คอยจัดหาเสบียง และลำเลียงส่งบำรุงกำลังไม่ให้ขาดน่าจะเป็นกองส่งกำลังบำรุง หรือพลาธิการครั้งแรกนั้นเอง
ประการสำคัญก็คือพระองค์ทรงเป็นผู้นำ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้กองกำลังของพระองค์เสมอจนทำให้กำลังรบของพระองค์มีขวัญ และกำลังใจในการต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมืองของตน (จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ผู้เขียน พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ หน้าที่ 733 วรรค 1/2)
สมเด็จพระนเรศวรทรงพระชนอายุ 7 พรรษา (บ้างก็ว่า 6 พรรษา) ได้ถูกพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองขอตัวไปเป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดีเมื่อ พ.ศ.2107 (บ้างก็ว่า พ.ศ.2108) ตลอดระยะเวลาที่อยู่หงสา 8 ปี (บ้างก็ว่า 9 ปี) พระองค์ทรงได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์ของพม่าตลอดระยะเวลาทรงศึกษาตำราเพื่อจะหาวิธีเอาชนะ เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา จึงได้กลับคืนยังกรุงศรีอยุธยาเมื่อทรงกลับมาก็ได้เร่งฝึกเด็กหนุ่มให้รู้เรื่องการรบ
ในปี พ.ศ.2124 พระเจ้าหงสาบุเรงนองสิ้นพระชนม์ มังไชยสิงห์พระโอรสพระมหาอุปราชได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง และทรงตั้งให้ มังกะยอชวา (มังสามเกียด) พระโอรสองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราชา พร้อมกันได้มีท้องตราให้หัวเมืองต่างๆ ไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมีพระชันษา 26 ปี ได้ทูลขอไปแทนพระราชบิดาด้วยมีพระประสงค์ไปสังเกตการณ์บ้านเมืองพม่าด้วย
ในครั้งนี้ ปรากฏว่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคัง ไม่ยอมเข้าเฝ้าเป็นที่ไม่พอพระทัย จึงให้จัดส่งกำลังไปตีเมืองคัง โดยเกณฑ์กำลัง 3 ทัพ พระมหาอุปราชา เป็นแม่ทัพเมืองหงสาวดี พระสังฆทัต เป็นทัพหลัง ในครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรสามารถสร้างผลงาน โดยสามารถตีเข้าเมืองคังไว้ได้ และเป็นผลทำให้เกิดความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าไทยใหญ่ เพราะได้ทูลขอชีวิตให้เจ้าฟ้าเมืองคังจึงเป็นเหตุให้เกิดมิตรภาพระหว่างไทยกับไทยใหญ่
ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2327 พระยาเกียนและพระยาราม ได้แจ้งข่าวให้พระมหาเถรคันฉ่อง ถึงอุบายที่พระมหาอุปราชาวางเอาไว้มหาเถรคันฉ่องจึงได้ห้ามทั้ง 2 ไม่ให้ช่วยพม่าในการคิดร้าย และทรงทูลเตือนให้สมเด็จพระนเรศวรได้รู้ และเกลี่ยกล่อมให้พระยาเกียน พระยารามเข้าสวามิภักดิ์ และให้ทูลความจริงในอุบาย
พระองค์จึงรับสั่งให้แม่ทัพนายกองมาประชุมกัน ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2127 (จารึกที่อนุสาวรีย์ กองทัพภาคที่ 3) และทรงนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง กับพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน พร้อมพระยาเกียนกระยาราม กับพวกชาวมอญมาพร้อมประชุมด้วย พระองค์ทรงดำรัสตรัสเล่าเรื่อง ที่พระเจ้าหงสาวดีระแวงคิดจะล่อลวงพระองค์ ไปทำร้ายให้ทุกคนทราบ แล้วพระองค์ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วย พระเต้าทองคำ ประกาศอิสรภาพแก่เทพยาดาฟ้าดิน ในที่ประชุมนั้นว่า “ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยา ขาดทางไมตรีกับเมืองหงสาวดี บ่ได้เป็นมิตรกัน ดังแต่ก่อนสืบไป” จากหนังสือประวัติศาสตร์ไทย ผู้เขียน พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ หน้าที่ 713) จึงได้อันเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำษิโณทก มาเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าเหรียญ
๏ นะ มะ พะ ทะ ๚๛ เป็นบทหัวใจธาตุ 4 อยู่ด้านหน้าเหรียญพระนเรศวรทั้ง 4 มุม
ใช้ฝึกการเดินธาตุ นะมะพะทะ มะพะทะนะ พะทะนะมะ ทะนะมะพะ
อุณาโลม ที่อยู่หน้าเหรียญทั้ง 2 ข้าง และตรงกลางหน้าผากเสือ
มหาสาตราพระเจ้า
๏มะอะอุ อะธิกะมูลัง ตรีเทวานังมหาสาตรา อุอุ อะอะ มะมะ มันตรา อุสาอาวามหามันตัง มะอะอุ โลปะเกเญยยัง องการะเสวะราชิโน ตรีนิอัขนานิ ชาตานิ อุณาโลมา ปนะชายะเต อะสังวิสุโลปุสะพุภะ สัตถุโน พุทโธ ๚๛
อักขระ อิ และ ติ ที่อยู่เหรียญ
๏ อิติ ๚ พระคาถานี้พระบารมีพระพุทธเจ้าเมื่อเข้าประจญ กับพระยามาร ถ้าให้มีชัยชนะแก่ศัตรูให้นั่งบ่ายหน้าไปทางทิศบูรพา (ตะวันออก) ภาวนาพระคาถานี้ 108 จบ ชนะแก่ศัตรูแล ถ้าจะไปทางน้ำให้ระลึกถึง พระบารมีแม่คงคาเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงประจญ ด้วยพระยามาร แม่พระคงคาได้ไหลมาท่วมหมู่พลมารทั้งหลายแตกพ่ายยับ เสกน้ำเสกผ้านุ่ง ผ้าโพกหัว แคล้วคลาด โพยภัยอันตรายทั้งปวงแล
ตัวเลขที่อยู่ใต้อัขระ ๏ นะ มะ พะ ทะ ๚๛
คู่มิตร นพเคราะห์
๑ ๕ อาทิตย์ มิตรครู
๒ ๔ จันทร์ โฉมตรู พุธนงเยาว์
๖ ๓ ศุกร์ ปากหวาน อังคารรับเอา
๗ ๘ เสาร์ ราหูเป็นมิตรกัน
๏ โอม อ่อง ปะ กุลา ส่วย ตา ต่อยิน จิตตังปิยังมะมะ ๚๛
๏ โอม อิตถี อ่อง ปะ กุลา ส่วย ตา ต่อยิน จิตตังปิยังมะมะ ๚๛
๏ โอม ปุริโส อ่อง ปะ กุลา ส่วย ตา ต่อยิน จิตตังปิยังมะมะ ๚๛ (พ่อครูทูลแข่ง)
ดาวนพเคราะห์ที่อยู่ใต้ฐาน องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
“ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ”
มนต์สรรเสริญคุณบิดามารดา และคุณต่างๆ
๏ อิติปิโสภควา สิบนิ้วข้าพเจ้าจะนมัสการ ข้าพเจ้าขอสรรเสริญ คุณพระบิดา ๒๑ คุณพระมารดา ๑๒ คุณพระโพสฬ ๓๙ คุณพระพุทธเจ้า ๕๖ คุณพระธรรมเจ้า ๓๘ คุณ พระสงฆเจ้า ๑๔ คุณครูอาจารย์ ๑๐ คุณพระกัมมัฏฐาน ๙ คุณพระคงคา ๑๒ คุณ พระธรณี ๒๑ คุณไฟ ๖ คุณลม ๗ คุณอากาศ ๑๐ คุณอักษร ๔๑ คุณอักขระ ๓๓ คุณนิสสวาส คุณอัสสวาส คุณปัสสวาส คุณแก้วทั้ง ๓ ประการ คุณศีล ๕ คุณศีล ๘ คุณศีล ๑๐ คุณศีล ๒๒๗ คุณพระปัญญาญาณ คุณพระโสดา คุณพระสกิทาคา คุณพระอนาคา คุณพระอรหันตา คุณมรรค ๔ คุณผล ๔ คุณนิพพาน จึงมาเป็น ๙ คุณพระนวโลกุตตรธรรม เดชะ ข้าได้เล่าเรียนศิลปะศาสตร์วิชาการใดๆ จงประสิทธิ คุณพระอาทิตย์ ๖ คุณพระจันทร์ ๑๕ คุณพระอังคาร ๘ คุณพระพุทธ ๑๗ คุณพระเสาร์ ๑๐ คุณพระพฤหัส ๑๙ คุณพระราหู ๑๒ คุณพระศุกร์ ๒๑ คุณพระเกตุ ๙ คุณท้าวเวสสุวรรณ อันเรืองเดช คุณพระนเรศวร คุณพระนารายณ์ คุณพระพรหม คุณพระยม คุณพระกาฬ คุณพระโลกบาลทั้ง๔ คุณพระมาตุลี คุณพระภูมิเจ้าที่ และเจ้ากรุงพาลีเป็นที่เคารพแก่ฝูงชน ที่มาสร้างกุศลพระบารมี ขอให้จำเริญสวัสดี คุณศีลบารมี คุณทานบารมี คุณสัจจะบารมี คุณอารยะบารมี คุณขันติบารมี คุณอธิฐานบารมี คุณพรหมวิหารที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คุณพระคาถาว่านยา และเลขยันต์ปะเจียดพิศมร แลมงคลอีกทั้งพระแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์จบพระไตรปิฎกทั้ง๓ ประการ ทั้งคุณครูภายนอก คุณครูภายใน คุณพระฤษีตาไฟ คุณพระฤษีอิศวร คุณพระฤษีกัสสปคุณพระฤษีนารอด คุณพระฤษีนาไลย คุณพระฤษีนาไลย คุณพระฤษีบัลลับโกศ คุณพระฤษีพุทธมงคล คุณพระฤษีสิงหาดาบส คุณพระฟาษัตตะพันธคีรี คุณพระฤษีมุนีดาบส ขอจงมาเป็นประธานข้าพเจ้าจะทำการขอให้ประสิทธิขอคุณพระพุทธคุณณัง พระธรรมคุณณัง พระสังฆคุณณังพระคุณทั้งปวง จงประสิทธิแก่ตัวข้าพเจ้าสิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง สิทธิตะถาคะโต สิทธิเตโช สิทธิวาโย สิทธิอาโป สิทธิปฐวี สิทธิบิดา สิทธิมารดา สิทธิครูอาจารย์ สิทธิอิศวร สิทธิอินรา สิทธิพราหมา สิทธินารายณ์ สิทธิเทวา สิทธิราชา สิทธิพุทธา สิทธิธัมมา สิทธิสังฆา สิทธิอัฏฐะ อรหันตานัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ อิสวาสุ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง ๚๛
ด้านหลังเหรียญ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
คำภาวนา ๏ อิ ติ ชะ นะ โต โน พุท สิท อัง ปิ ติ อิ๚๛
1. อิ
๏ อิจโฐสัพพัญญู ตะยานัง อิจฉันโต อาสะวาขะยัง
อิจฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิจิมันตัง นะมามิหัง ๚๛
ป้องกันศาสตรา ทั้งให้แคล้วคลาด นิราศไพรี ศิริย่อมมีแก่ผู้ภาวนา
2. ติ
๏ ติณ โณ โย วัฎฎะ ขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโสภูมีอะติกกันโต ติณณัง โอฆัง นะมามิหัง ๚๛
กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอบ ทั้งห้า ไม่มาหลอกหลอน
3. ชะ
๏ ชะราชะระชิโนชิโน ชะราชะ ราชิ มุตตะโม
ชะราชะ ระชิโนโมจัง นะมามิ พุทธะ เรวัตตัง ๚๛
มีตบะอำนาจ เข้าหาผู้ใหญ่เป็นเมตตาต่อผู้น้อย
4. นะ
๏ นะรานะระหิตังเทวัง นะระเทเว หิปูชิตัง
นะรานังกามะ (กัมมะ) ปังเกหิ นะมามิสุขะตังชินัง ๚๛
ตัวนี้ดีนักหนา เป็นตัวแม่ใช้ได้ทุกประการแล
5. โต
๏ โตเสนโตวาระธัมเมนะ โตสัฎฐาเนสิเววาระ
โตสังอากาสิชันตูนัง โตละจิตตังนะมามิหัง ๚๛
เจรจาพาที เข้าหาเจ้าขุนมูลนาย พระยา เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเกื้อหนุน
6. โน
๏ โนเทตินิระยังคันตุง โนจะปาปังอาการะยิ
โนสะโมอัตถิปัญญายะ โนมะธัมมัง นามามิหัง ๚๛
ตัวนี้ดี ปลุกฤทธิ์ ป้องกันฟ้าผ่า สยบสัตว์ร้าย ลงของดีนัก
7. พุท
๏ พุทโธพุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะภาสิตัง
พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะ โชตังนะมามิหัง ๚๛
ป้องกันอุปัทวเหตุ เภทภัยนานา มีคุณยิ่งใหญ่
๏ พุทโธพุทธังนะ กันตังอรหังพุทโธนะ โมพุทธายะ อุทธังอัทโธ นะโมพุทธายะ ๚๛
๏ พุทโธพุทธัง พุทธะนิมิตตังกายะ พุทโธพุทโธ พุทธัสสะ อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง๚๛
8. สิท
๏ สิทธิกิจจังสิทธิกัมมัง สิทธิการัง ตะถาคะตัง
สิทธิกันเจวะ สัมภะวัง สิทธิกิจจัง นะมามิหัง ๚
ทำการใดๆ ให้ประสิทธิ มีผลสำเร็จ
๏ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม สัพพะสิทธิภะวันตุเม ( เต )
9. อัง
๏ อัมหากัง พุทธะวะจะนัง อัมหากัง ธัมมะมุตตะมั
อัมหากัง สัคคะ โมกขัญจะ นะมามิอะระหัง ชินัง ๚๛
ให้มีความคงทนทรหด
10. ปิ
๏ ปิโยเทวามะนุสสานัง ปิโยพรหมา นะมุต ตะโม
ปิโยนาคะ สุปัณณาณัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง ๚๛
สารพัดเมตตา เป็นดั่งดอกไม้สวรรค์
11. ติ
๏ ติณโณโสสัพพะปาเปหิ ติณโณสัคคา ปะติฎฐิโต
ติเรนิพพานะสังขาเต ติกขะญาณังนะมามิหัง ๚๛
เจริญทุกวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์โศกโรคร้าย
12. อิ
๏ อิทธิวิกุพพะ กัตตาโร อิทธิกาโร ปะกาสิโต
อิทธิริทธิกะโรกะโร อิทธิการัง นามามิหัง ๚๛
อิ ตัวนี้ให้เกิดฤทธิ์ ย่อมสัมฤทธิ์ผลเอย
บทภาวนา นี้ยังสามารถจับคู่ในหมวดพระคาถาบทภาวนาได้อีก
บท พุทธะ
๏ นวภา พุทธะโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโนพุทธะภาวะนะ ๚๛
ใช้ปิดเสาเรือน ฝาบ้าน ร้านค้า มีไว้ติดตัวดีนักแล
บท ชะนะ
๏ นวภา ชะนะโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโนชะนะภาวะนะ ๚๛
ให้เป็นชัยชนะ แก่ข้าศึกศัตรู ผู้คิดร้ายทั้งมวล
บท ปิย
๏ นวภา ปิยะโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโนปิยาภาวะนะ ๚๛
ให้เป็นที่รักจำเริญใจแห่งคนเทวดาทั้งหลาย
บท สิทธิ
๏ นวภา สิทธิโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโนสิทธิภาวะนะ ๚๛
ให้มีความสำเร็จสมความปรารถนา
บท อิติ
๏ นวภา อิติโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโนอิติภาวะนะ ๚๛
ให้จำเริญด้วยเดชะฤทธิ์ เป็นที่ยำเกรงแก่คนทั้งหลาย
รูปหน้าพยัคฆ์ พระคาถาที่ใช้
๏ พยัคโฆ พยัคฆา สูญญาลัพภะติ อิติ หิม หัม หึม มะหิทธิโก พยัคฆ์ ราชาโน อิทธิเตชะ พยัคโฆ สรรพัดศัตรู วินาศ สันติ (แคล้วคลาดศัตรูวินาศสันติ) ๚๛
รูปดาบ แทนดาบยศ พระแสงดาบคาบค่าย
คำนมัสการดาบ
๏ วุฒิติ วลุสีติ สิริธิติ ๚๛
๏ อมเทปะสวาหังมังดาบสะหรี๋กัญไชย กูนี้ผาบแต่เจ่นเมืองเปตเมืองผียักษ์เย็น ผีกระสือ ผีต๋าย ผีต๋ายโห๋ง จุเขตดาวใต้ฟ้า ลุ่มเหนือหน้าแผ่นดินบ่รอด บ่ค้าง อมสวาหะเธค ๚๛ ให้เสกนํ้ามนต์ เอาดาบจุ่มแช่นํ้า ( หลวงปู่ครูบาคา สังวโร วัดศรีดอนตัน)
๏ พุทธโธ โลกัสสะ ธัมมะติอะระหัง อะกุสสะลา นะโมพุทโธ อะอิสงยะ สงสัพป๊ะ สังอนุโมพุทธายะ เวสสุวัณโน กุมภะยักขาปะลายันตุ ๚๛ ( หลวงปู่ครูบาคำ สังวโร วัดศรีดอนตัน ) ใช้ตัดภูติพราย
ตามพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ที่มีปรากฏ ในหนังสือวชิระญาณวิเศษเล่ม๔ กล่าวว่า “การถือนํ้าพิพัฒน์สัตยานี้ เนื่องสืบมาแต่ธรรมเนียม ของพวกกษัตริย์ฮินดู โบราณ ซึ่งนำนํ้าล้างอาวุธ เป็นนํ้าสำหรับให้ผู้อื่นสาบาน การสาบาน ก็หยิบเกลือมาน้อยหนึ่ง วางบนใบดาบ ผู้เป็นนายที่ให้สาบาน จงกล่าวคำแช่งว่า “ ถ้าท่านกล่าวคำเท็จ หรือประพฤติทุจริตผิดจากคำสาบาน จึงให้ดาบเช่นนี้ล้างผลาญชีวิตของท่านเถิด” แล้วผู้เป็นนายให้สาบานจึงหยดนํ้าลงที่เกลือ ให้ละลายแล้วยกใบดาบเข้ากรอกปากผู้สาบาน ให้อ้าปากกลืนกินนํ้าเกลือที่ละลายนั้น
หมายเหตุ ได้รวบรวมวิธีการใช้เหรียญ และความหมายต่างๆของเหรียญไว้ให้เรียบร้อยแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับเหรียญไป จะได้ใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุด และขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวร พระเจ้าตากสินมหาราช เหล่าบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ ท่านพระยาพิชัยดาบหัก และเหล่าผู้กล้าทั้งหลาย ที่ได้เสียสละเพื่อแผ่นดินสยามแห่งนี้รวมถึงครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดสั่งสอนวิชาการต่างๆ ขอบารมีของท่านที่กล่าวมาแล้วนี้ จงปกปักคุ้มครองศิษย์ทุกคนด้วย ด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ด้วยเดชา แห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ จงมาประสิทธิ พุทธังประสิทธิ ธัมมังประสิทธิ สังฆังประสิทธิ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา เทวารักษา พรหมารักษา อินทรารักษา ครูบาอาจาริยะ ประสิทธิเม
เหรียญสมเด็จพระนเรศวร
คาภาวนา ๏ อิ ติ ชะ นะ โต โน พุท สิท อัง ปิ ติ อิ ๚๛
สำหรับคนที่รับ “เหรียญสมเด็จพระนเรศวร” ไปนั้น ให้เตรียมพาน ๑ ใบ โดยรองพานด้วยผ้าขาว ผ้าแดง นำดอกบัว ๕ ดอก มาลัย ๓ สี ๑ พวง ธูป ๕ ดอก เทียน ๕ เล่ม หมากพลู ๕ คำ เงิน ๖ บาท พร้อมนำตะกรุดวางบนพานมีนํ้าสะอาดอีก ๑ แก้ว วางไว้ใกล้ๆพาน
แล้วบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และบูชาคุณครูบาอาจารย์ และบูชาเทวดาผู้รักษา จากนั้นท่องพระคาถาดังต่อไปนี้
คาบูชาองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๏ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๚๛ ๓ จบ
ทีฆายุโก โหตุ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชา
๏ โอม ปรเม นเรศวรหมาราช นเรศจิตติ อิทธิฤทธานุภาเวนะ นเรศจิตติ สิทธิสังโฆ นะโมพุทธายา ปฐวีคงคา พระภูมิเทวา มะเทวา ขะมามิหัง ๚๛
นะมามิ สิระสา พุทพิมจัง พุทธะญาณะ นเรศวร สัพพะ ทุกขะ สะทาติ สันติทัง สุระทัง สะทาติ ๚๛
คาถาพญาเสือ
๏ พยัคโฆ พยัคฆา สูญญาลัพภะติ อิติ หิม หัม หึม มะหิทธิโก พยัคฆ์ ราชาโน อิทธิเตชะ พยัคโฆ สารพัดศัตรู วินาศสันติ (แคล้วคลาดศัตรูวินาศสันติ) ๚๛
เมื่อใช้เสร็จทุกครั้ง พึงนำเหรียญวางบนพาน