ในปี พ.ศ.2530 ซึ่งในขณะที่ผมศึกษาที่อยู่ที่ ม.หอการค้าไทย และเข้าเป็นสมาชิกชมรมคาราเต้ จะฝึกซ้อมกันช่วงเย็น ตั้งแต่สี่โมงเย็นถึงสองทุ่ม เมื่อผ่านไประยะหนึ่งผมได้ยืนหน้าชั้นเรียนมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งได้พูดเปรยว่า “ทำไมถึงเรียนแต่มวยต่างชาติ ไม่สนใจ มวยไทย เหรอ” ผมก็หันไปมองหน้าเพื่อนคนนั้น เพื่อนก็ตกใจเกรงว่าเราจะโกรธ ผมก็ตอบเพื่อนว่า “จริงของนาย” แล้วผมก็หันหน้าออกไปนอกอาคารแล้วได้ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง “จริงสินะอย่างน้อยเราก็เป็นคนไทยเรียนรู้ได้ก็ดีใครถามจะได้ตอบด้วยความภูมิใจ ว่าเคยฝึกฝนมวยไทยเช่นกันจะได้ไม่ตะขิดตะขวงใจ เวลาเจอคำถามเช่นนี้อีก เพราะถ้าหากเรียนมวยและสอนมวยก็คงต้องพบคำถามเช่นนี้อยู่เสมอ”
จนกระทั่งวันหนึ่งขณะนั่งรถสาย 95 กลับบ้านผมก็แวะลงตรงโชคชัย 4 เมื่อลงไปก็พบแผงหนังสือพอดี แล้วก็เหมือนจะเป็นโอกาสที่จะมาถึง หนังสือที่สายตาเราจ้องไปนั้น เป็นนิตยสาร สารคดีซึ่งมีรูปคนตั้งเหลี่ยมมวยและคาดเชือก
ผมจึงซื้อพร้อมกับนิตยสารพระเครื่อง ลานโพธิ์ อีกหนึ่งเล่ม ราคา 12 บาท ปัจจุบันนี้ 50 บาทแล้วครับ
เมื่ออ่านหัวข้อที่ต้องการเรียบร้อยแล้วเช้าวันรุ่งขึ้น ผมก็โทรถามบรรณาธิการหนังสือ เพื่อจะขอที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อครูท่านนี้ และได้โทรไปหาครู และนัดหมายกับครูด้วย “ครูท่านนี้ก็คือครูทองหล่อ ยาและ หรือครูทองเชื้อไชยา” ท่านสอนอยู่แถวเอกมัยทองหล่อซอย 2 ช่วงเสาร์-อาทิตย์ เวลาบ่ายโมง วันแรกที่ไปผมได้ชวนรุ่นพี่ที่ม.หอการค้า ไปเป็นเพื่อนด้วยก็คือ พี่บิลเลียด (อาจารย์เกรียงไกร แสนพยุหะ)
และนัดหมายกับครูด้วย “ครูท่านนี้ก็คือครูทองหล่อ ยาและ หรือครูทองเชื้อไชยา” ท่านสอนอยู่แถวเอกมัยทองหล่อซอย 2 ช่วงเสาร์-อาทิตย์เวลาบ่ายโมง วันแรกที่ไปผมได้ชวนรุ่นพี่ที่ม.หอการค้า ไปเป็นเพื่อนด้วยก็คือ พี่บิลเลียด (อาจารย์เกรียงไกร แสนพยุหะ)
เมื่อถึงหน้าบ้านเราก็ได้ยินเสียงซ้อมดนตรีไทยกันอยู่ และห้องน้ำก็มีการซ่อมแซมปรับปรุงทำสีอยู่ อีกสักครู่ก็มีมาอีกกลุ่มประมาณ 9 คน ซึ่งเป็นน้องๆจากโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อครูเรียกเข้าแถวเราก็เริ่มเรียนท่าพื้นฐานกัน อีกครู่ใหญ่ก็มีอีกท่านหนึ่งตามมา ขับมอเตอร์ไซค์ผู้ชายไม่แน่ใจว่า Honda 100 สีแดงหรือเปล่า เมื่อครูได้แนะนำก็ได้รู้ว่าคือ พี่แปรง ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นครูที่มีฝีมือท่านหนึ่ง ที่เผยแพร่มวยไชยา ผมอยู่ฝึกในระยะหนึ่งในปี2531 ต้องย้ายไปเรียนที่มหาลัยพายัพเชียงใหม่ เป็นอันว่าเลยต้องหยุดเรียนกับครูทองไปโดยปริยาย
ปัจจุบันนี้มีผู้ที่เผยแพร่มวยไชยาหลักๆ ดังนี้
- บ้านมุสลิม บ้านครูทอง (ครูหญิง ซึ่งเป็นบุตรสาวครูทอง และครูอรุณซึ่งเป็น น้องชายครูทอง)
- สยามยุทธ์ยิมของครูแปรง (อมรกฤต ประมวญ) และพี่แหลม (ศักย์ภูมิ จูฑะพงศ์ธรรม)
- บ้านช่างไทย ครูเล็ก (กฤดากร สดประเสริฐ)
- สายเกราะเพชรพาหุยุทธ์ของพระอาจารย์ต้า
ครูอำนาจ พุกศรีสุข มวยไทยนวรัชและยังมีผู้ที่เผยแพร่วิชามวยไทยอีกหลายท่านที่ต้องยกย่อง เช่น อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ครูชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์, ครูกฤช วัดศรีนวล, สำนักดาบบ้านช่างหล่อ, สำนักดาบเจ้าราม, สำนักดาบอาทมาต นเรศวร, สำนักศรีอริยะเมต, สำนักดาบศรีอยุธยา, ครูเสน่ห์ ทับทิมทอง, สำนักพุทธไธสวรรค์
รวมถึงโปรโมเตอร์มวย และเจ้าของค่ายมวยต่างๆที่ช่วยกันเผยแพร่มวยไทย ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องการพนันเข้ามา (แต่เป็นประเด็นที่หลากหลายความคิดเห็น) แต่เหล่าขุนพลนักมวยจากค่ายมวยต่างๆ และโปรโมเตอร์มวยนั้น ก็ฟันฝ่าวิกฤตต่างมากมายจนทำให้ชาวต่างชาติ ได้รู้จักคำว่ามวยไทย ส่วนครูมวยไทยโบราณทั้งหลายเป็นผู้ร่วมรักษา สืบสาน ภูมิปัญญาบรรพชนให้ลูกหลานอยู่ ผมคิดว่าก็เป็นเช่นเดียวกันครับ
ผู้ที่ได้อ่านก็อย่าเพิ่งคิดว่า ผมพวกนอกครูนะครับ คือมันมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนที่อยู่เสมอ คือชีพจรลงเท้า การย้ายที่อยู่ก็จะเสาะแสวงหาครู และที่สำคัญต้องคุยกันถูกใจด้วย ประเภทมีบุพเพสันนิวาสต่อกัน เมื่อผมย้ายที่อยู่ไปที่จังหวัดไหน ก็จะเสาะแสวงหาครูมวยอยู่เรื่อย และหลายครูไปหน่อย แต่ก็ไม่เคยผิดครูนะครับ ท่าครูใดที่ได้ร่ำเรียนมา ก็คงไว้อยู่นะครับ
ทุกวันนี้ก็ยังไม่หยุดค้นคว้า มีโอกาสก็จะขึ้นกรุงเทพฯ เพื่อพบปะ พี่ๆน้องๆ ครูบาอาจารย์ขอคำชี้แนะเพิ่มเติม มีเวลามากหน่อยก็เลยขึ้นเชียงใหม่ ให้หนานเสี้ยง, สล่าโอ, ครูแสบ พาเสาะหาครูดาบ, ครูเชิง เพื่อเปิดหูเปิดตาและเปิดใจ รับวิชาเหล่านั้นอยู่เสมอ เราเรียนไม่จบก็ต้องขยันมากหน่อย เพราะไม่อย่างนั้น จะถูกดูแคลนอยู่เรื่อย (เป็นประจำ)
ช่วงที่ผมกลับมาอยู่หาดใหญ่ก็คงได้รับความเมตตาจากครูอำนาจ เมื่อครั้งลงมาหาดใหญ่ก็ช่วยฝึกฝนให้เป็นการส่วนตัว ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่มีมาให้เป็นความรู้อยู่เสมอ
ครูแปรงและครูแหลมก็เช่นกัน ให้ความรู้ทางด้านดาบ สื่อการเรียนรู้ ประเภท VCD เมื่อขึ้นกรุงเทพฯ มีโอกาสพบพี่ทั้ง สอง ก็ได้รับความรู้จากการสาธิตและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากการสนทนากัน
ส่วนอีกท่านที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ พระอาจารย์ต้า ก็เป็นอีกท่าน ซึ่งเรียนรู้มวยไชยา ท่านก็เมตตาให้หลักสูตรที่ท่านทำขึ้นไว้ให้ศึกษา ปัจจุบันท่านก็เผยแพร่วิชามวย โดยผ่านทางผู้ช่วยอีกหลายท่าน เช่น ครูเบนซ์, ครูไก่ ฯลฯ ช่วยกันเผยแพร่ ในนามชื่อสำนักมวยเกราะเพชรพาหุยุทธ์
อีกท่านที่เป็นที่รู้จักกัน ก็คือ ครูเล็ก แห่งสำนักมวยบ้านช่างไทย ก็เป็นผู้ที่เผยแพร่ วิชามวยไชยา และมีสื่อด้านหนังสือ, VCD, ออกมาเผยแพร่ มวยไชยาให้ผู้คนได้รู้จัก มีลูกศิษย์ที่มีคุณภาพหลายท่าน ออกมาเผยแพร่มวยไชยาเช่นกัน เช่น ครูเปรโต ปัจจุบันสอนอยู่ที่เชียงใหม่ ลูกศิษย์คู่บารมี ครูเต้ ผู้มีฝีมือฉกาจ สามารถเอาชนะหลายครั้งบนสังเวียน